กินอย่างไร ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่?

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ทั่วโลก ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่บางอย่างอาจควบคุมไม่ได้

แชร์

กินอย่างไร ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่?

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ทั่วโลก ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่บางอย่างอาจควบคุมไม่ได้ เช่น พันธุกรรม เพศชาย อายุที่เพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ น้ำหนัก อาหารและการใช้ชีวิต บทความนี้จะมาให้ข้อมูลถึงอาหารกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ว่าควรเลี่ยงหรือควรเลือกอาหารแบบใดจึงจะลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาหารที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

  1. อาหารแปรรูปสูง (Ultra-processed food, UPF): เป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการทางเคมีหลายขั้นตอน มีการใส่สารเติมแต่งให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่ารับประทาน และพร้อมรับประทาน และอาจยังมีการใส่สารยืดอายุและคงสภาพของอาหารไว้เพื่อป้องกันการเพิ่มของจุลินทรีย์ในอาหาร มักจะเป็นอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล เกลือ แป้งขัดสีในปริมาณที่สูง มีไมโครนิวเทรียนท์และไฟเบอร์น้อย ตัวอย่างทั่วไปของอาหารกลุ่มนี้ ได้แก่ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ทำจากนมและน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาล ของขบเคี้ยว บิสกิตหรือเค้กสำเร็จรูป มาการีน ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมรับประทาน (ready to -eat or -heat) หรือผ่านการแปรรูปล่วงหน้า เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า
  2. เนื้อแดง หรือ เนื้อสัตว์แปรรูป
    • เนื้อแดง ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อกวาง เนื้อแพะ
    • เนื้อสัตว์แปรรูป ได้แก่ ไส้กรอก เบคอน แฮม เนื้อตัดเย็น (cold cuts) และ deli

อาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่เป็นประจักษ์ว่าอาหารใดที่ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่ก็มีบางการศึกษาที่พบว่า อาหารที่มีแคลเซียมสูง วิตามินดีสูง อาหารที่มีสารฟลาโวนอยเช่น ถั่วต่างๆ  อาจจะช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านอาจจะแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสี ซึ่งจะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดี สามารถป้องกันโรคเรื้อรังชนิดอื่นๆ และอาจรวมถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

พฤติกรรมที่ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุรี่ ควบคุมน้ำหนัก หากิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย

การป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

วิธีการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่เห็นผลได้ชัดเจนที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้ค้นพบติ่งเนื้อที่สามารถโตไปเป็นมะเร็งได้ในอนาคตตั้งแต่เนิ่น ๆ และทำการตัดออกเพื่อป้องกันมะเร็ง  โดยแนะนำให้เริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 45 ปีเป็นต้นไป หรือน้อยกว่าในรายที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 31 มี.ค. 2024

แชร์