After Total Knee Replacement Banner.jpg

ผ่าเข่าไม่กี่วัน เดินได้เลยจริงหรือไม่

ในผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเสื่อมระดับปานกลางถึงมาก หากไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและการทำกายภาพ ทางเลือกลำดับถัดมาก็คือการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

แชร์

เมื่อพูดถึง “การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสิ่งแรก ๆ ที่คนทั่วไปนึกถึงคือ เป็นการผ่าตัดใหญ่ น่ากลัว ผ่าแล้วจะเดินได้จริงหรือ ใช้เวลากี่วันถึงจะเดินได้  บทความนี้เรามีคำตอบให้

โรคข้อเข่าเสื่อม ถือเป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดบวมที่เข่า เข่าฝืด มีเสียงในเข่า และสร้างปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ในผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเสื่อมระดับปานกลางถึงมาก หากไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและการทำกายภาพ ทางเลือกลำดับถัดมาก็คือการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จากสถิติพบว่าในสหรัฐอเมริกามีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมากกว่า 1 ล้านคน/ปี และยังมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ สอดคล้องกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้นเป็นการผ่าตัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่า 50 ปี  ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ แง่มุมของการรักษา   ซึ่งส่งผลให้ผลลัพธ์ของการรักษาในปัจจุบันนั้นดีขึ้นกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก และถือเป็นหนึ่งในการผ่าตัดที่ได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จสูงในการรักษาอาการปวด และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วย

ข้อเข่าเทียมนั้นทำมาจากโลหะผสมไทเทเนียม (titanium) โคบอลต์โครเมียม (cobalt chromium) และระหว่างโลหะทั้ง 2 ชิ้น มีพลาสติกโพลีเอทีลีน (polyethylene) ทำหน้าที่เหมือนเป็นกระดูกอ่อนเทียม ปัจจุบันข้อเข่าเทียมมีการพัฒนาทั้งในส่วนของกระบวนการผลิตและการออกแบบให้แข็งแรง คงทนต่อการสึกกร่อนสูง และทำหน้าที่ได้ใกล้เคียงธรรมชาติ ทำให้หลังผ่าตัดเราสามารถให้ผู้ป่วยฝึกเดินลงน้ำหนักได้เต็มที่ตั้งแต่วันแรกของการผ่าตัด 

ในส่วนของกระบวนการผ่าตัดก็มีการพัฒนาเทคนิคผ่าตัดแบบที่บาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย ส่งผลให้ฟื้นตัวได้เร็ว รวมไปถึงยังมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวางตำแหน่งของข้อเทียมอีกด้วย

นอกจากการผ่าตัดแล้ว สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนของการดูแลก่อนและหลังการผ่าตัด ซึ่งอาศัยการทำงานร่วมกันเป็นทีมของศัลยแพทย์ แพทย์อายุรศาสตร์ และวิสัญญีแพทย์ ในการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดให้พร้อมต่อการผ่าตัดมากที่สุด และการระงับปวดหลังผ่าตัดให้สามารถทำกายภาพได้โดยไม่มีอาการเจ็บปวดมารบกวน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า การเดินภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด จะช่วยให้กลับบ้านได้เร็วขึ้น ช่วยให้ข้อเข่าเทียมใช้งานได้ดีขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนอีกด้วย

โดยสรุป การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในปัจจุบันนี้ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ด้วยการดูแลที่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัด โดยทีมแพทย์ทำให้ผลลัพธ์ของการรักษาฟื้นตัวเร็ว ปลอดภัย และสามารถเดินได้ตั้งแต่วันแรกของการผ่าตัด


แบบประเมินภาวะข้อเข่าเสื่อม หากคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อม ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ทางออนไลน์ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 25 ก.พ. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช

    ศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม (เทคนิคหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ROSA)
    Arthroplasty, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน

    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม (เทคนิคหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ROSA)
    Osteoarthritis of Knee, Osteoarthritis of Hip, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. สิริพงศ์ รัตนไชย

    นพ. สิริพงศ์ รัตนไชย

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม (เทคนิคหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ROSA)
    Primary Total Hip and Total Knee Replacement Surgery, Hip Fracture Management, Unicompartment Knee Replacement Surgery, Complex Primary Total Hip and Total Knee Replacement Surgery, Revision Hip and Knee Replacement Surgery, Minimally Invasive Technique of Hip and Knee Surgery, Birmingham Hip Resurfacing Surgery, Robotic Assisted Knee Replacement Surgery (ROSA)