มลพิษในอากาศ โดยเฉพาะ PM2.5 ทำลายสุขภาพอย่างไร - How does air pollution, especially PM2.5, affect your health?

มลพิษในอากาศ โดยเฉพาะ PM2.5 ทำลายสุขภาพอย่างไร

ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์เรานั้น มีกลไกช่วยกำจัดอนุภาคแปลกปลอมขนาดเล็กเหล่านี้อยู่ เมื่อฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่ลงไปในปอดส่วนต้น ร่างกายจะมีด่านแรกที่ช่วยป้องกัน

แชร์

มลพิษในอากาศ โดยเฉพาะ PM2.5 ทำลายสุขภาพอย่างไร

ปัจจุบัน มลพิษในอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทยสูงมาก จนทำให้ประชาชนหวาดกลัว และส่งผลต่อสุขภาพ เกิดการเจ็บป่วยกันเป็นจำนวนไม่น้อย ในอินเทอร์เน็ตมีบทความมากมายเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิด PM2.5 แต่ไม่ค่อยมี (หรือหาได้ยากมาก) ที่บอกว่า PM2.5 ทำลายปอดอย่างไร

M2.5 มากเกินไป อันตรายต่อปอดและหัวใจ

กลไกการกำจัดฝุ่น และเชื้อโรค ในร่างกาย

โดยเฉลี่ยแล้ว คนทั่วไปจะหายใจเอาอากาศเข้าสู่ร่างกายประมาณ 20,000 ลิตรต่อวัน (หนักประมาณ 20 กิโลกรัม) ซึ่งอากาศจำนวนนี้อาจจะมีฝุ่นละออง ก๊าซอันตราย เขม่า เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ไวรัสปะปนอยู่ และเข้าไปในหลอดลมและถุงลมด้วย

ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์เรานั้น มีกลไกช่วยกำจัดอนุภาคแปลกปลอมขนาดเล็กเหล่านี้อยู่ เมื่อฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่ลงไปในปอดส่วนต้น ร่างกายจะมีด่านแรกที่ช่วยป้องกัน มีลักษณะเป็นขนเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ซีเลีย (Cilia) ซึ่งเป็นโครงสร้างหนึ่งของเซลล์เยื่อบุของหลอดลมที่เรียกว่า Ciliated cells ขนซีเลียจะคอยเคลื่อนไหวพัดโบกหรือโยกให้แผ่นเมือก (Mucus layer) ที่มีเชื้อโรค ฝุ่นละอองติดอยู่ ให้เคลื่อนที่ขึ้นไปยังหลอดลมใหญ่ และไอออกมา หรือเข้าไปในปากและกลืนลงสู่กระเพาะอาหาร

PM2.5 มากเกินไป อันตรายต่อปอดและหัวใจ

ฝุ่นละอองที่เล็กกว่า 3-5 ไมครอนอาจจะสามารถรอดพ้นจากการกำจัดโดยขนซีเลีย เข้าไปถึงปอดส่วนลึกและเกิดอันตรายต่อปอด โดยทั่วไปฝุ่นเล็ก ๆ เหล่านี้จะถูกอัลวีโลลาร์แมคโครเฟจ (Alvelolar macrophages) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนผิวของถุงลม เข้ามากินและฆ่า หากมีฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคมาก จะมีเม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า นิวโตรฟิล (Neutrophils) ออกมาช่วยอีกแรงหนึ่ง

กลไกการกำจัดฝุ่น และเชื้อโรค ในร่างกาย

เมื่อมีเชื้อโรคและฝุ่น PM2.5 มากเกินกว่าที่ร่างกายและปอดจะกำจัดได้ เชื้อโรคและฝุ่นละออง PM2.5 จะทำลายปอดทำให้เสียหายและไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เกิดการล้มเหลวของปอด และโยงไปถึงหัวใจ ทำให้เสียชีวิตได้ หรืออาจทำให้เกิดมะเร็งปอดและตายได้ การลดการสัมผัสกับ PM2.5  จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นต่อสุขภาพ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ

ผลภัยของ PM2.5 ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ ประชาชนควรลุกขึ้นมาร่วมมือกัน ต่อสู้และควบคุมปริมาณของ PM2.5 ที่เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน เพื่อส่งผลต่อสุขภาพที่ดี คุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยมากขึ้น

Reference: Defense Mechanisms of the Respiratory System by Rebecca Dezube, MD, MHS, Johns Hopkins University

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 19 ก.พ. 2025

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วรการ วิไลชนม์

    นพ. วรการ วิไลชนม์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, เครื่องช่วยหายใจ, วัณโรค
  • Link to doctor
    นพ. เกษม สิริธนกุล

    นพ. เกษม สิริธนกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, หายใจลำบาก, ไอเรื้อรัง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคมะเร็งปอด, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, โรคปอดบวม, คลินิกหยุดบุหรี่
  • Link to doctor
    ศ. นพ. ยงยุทธ์ พลอยส่องแสง

    ศ. นพ. ยงยุทธ์ พลอยส่องแสง

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, อายุรศาสตร์โรคปอด, เวชบำบัดวิกฤต