แม่หลังคลอด ดูแลสุขภาพและแผลผ่าคลอดอย่างไร ช่วยให้หายไว

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เลือกคลอดด้วยวิธีผ่าคลอด แน่นอนว่าเป็นวิธีที่สะดวกและไม่เจ็บปวดมากนักสำหรับคุณแม่ แต่ก็แลกมาด้วยรอยแผลผ่าตัดที่ต้องดูแลอย่างเอาใจใส่ มิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาตามมาได้

แชร์

แม่หลังคลอด ดูแลสุขภาพ แผลผ่าคลอดอย่างไร ช่วยให้หายไว

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เลือกคลอดด้วยวิธีผ่าคลอด แน่นอนว่าเป็นวิธีที่สะดวกและไม่เจ็บปวดมากนักสำหรับคุณแม่ แต่ก็แลกมาด้วยรอยแผลผ่าตัดที่ต้องดูแลอย่างเอาใจใส่ มิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาตามมาได้ บทความนี้จะมาแนะนำคุณแม่ดูแล แผลผ่าคลอด ให้แผลหายไว ซึ่งมีด้วยกัน 6 วิธี ดังนี้ 

แม่หลังคลอด ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ

การผ่าคลอด นับเป็นการผ่าตัดใหญ่ ร่างกายของคุณแม่จึงต้องการเวลาที่จะฟื้นฟูหลังจากการทำหัตถการ ซึ่งส่วนมากหลังคลอด คุณแม่จะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 2-4 วัน หากมีปัญหาอื่น ๆ หรือภาวะแทรกซ้อน อาจใช้เวลาพักฟื้นนานกว่านั้น หลังจากออกจากโรงพยาบาล คุณแม่ต้องมาดูแลรักษาตัวเองที่บ้านต่ออีกประมาณ 6-8 สัปดาห์ จนกว่าแผลจะหายสนิท  

การนอนหลับจึงเป็นวิธีที่ดีที่จะเปิดโอกาสให้ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นฟู แต่การนอนอย่างเพียงพอในคุณแม่หลังคลอดเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะทารกแรกเกิดต้องการการดูแลเอาใจใส่ค่อนข้างมาก สิ่งที่พอจะทำได้คือการพยายามนอนหลับในเวลาที่ทารกหลับให้ได้ หรือขอความช่วยเหลือจากสามี ญาติ ในการแบ่งเบาหน้าที่ในการดูแลทารก เช่น การเปลี่ยนผ้าอ้อม และการทำงานบ้านอื่น ๆ เพื่อให้คุณแม่สามารถพักผ่อนได้มากเท่าที่จะทำได้ 

ดูแลตัวเองเป็นพิเศษ ลดผลกระทบต่อแผลผ่าคลอด

หลังการผ่าตัด คุณแม่ไม่ควรออกแรงเยอะ หรือใช้แรงเยอะ ๆ หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ ไม่ยกของหนัก (ยกเว้นการอุ้มทารก) เวลาไอหรือจาม ให้ใช้หมอนหรือผ้านวมพยุงกล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อลดแรงสะเทือนและป้องกันการปริของแผลผ่าตัด และดูแลแผลผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น การทำความสะอาดแผล 

โดยปกติ จะใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์ กว่าคุณแม่จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนตอนก่อนผ่าคลอด ซึ่งสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกลับมาออกกำลังกาย กลับไปทำงาน และควรงดการมีเพศสัมพันธ์หรือใส่ผ้าอนามัยแบบสอดจนกว่าแพทย์จะอนุญาต 

ควรตรวจดูแผลผ่าตัดเพื่อดูสัญญาณของการติดเชื้อ โดยสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ก่อนออกจากโรงพยาบาลถึงหลังออกจากโรงพยาบาล หากแผลผ่าคลอดแดง บวม หรือมีของเหลวซึม บริเวณรอบ ๆ แผลเปลี่ยนสี เช่น สีแดง สีม่วง หรือสีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสีผิวของคุณแม่ ร่วมกับการมีไข้ ควรแจ้งแพทย์ 

หากสามารถออกกำลังกายได้ ควรเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ แล้วใช้วิธีการเดินแบบสบาย ๆ เพราะการให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวมีส่วนช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและป้องกันการเกิดลิ่มเลือดด้วย อีกอย่างคือ การได้อุ้มทารกออกไปเดินบ้าง จะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เด็กได้รับรู้ถึงสภาพแวดล้อมภายนอกบ้าน 

ใช้ยาแก้ปวดที่แพทย์แนะนำ 

แพทย์อาจแนะนำยาที่บรรเทาอาการปวดที่ไม่ส่งผลต่อการให้นมบุตร หากมีอาการปวด สามารถกินยาบรรเทาปวดเหล่านั้นได้ ซึ่งการจ่ายยาของแพทย์อาจแตกต่างกันตามระดับอาการปวด 

แม่หลังคลอดควรได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

หลังผ่าคลอด สารอาหารที่คุณแม่ได้รับนั้นสำคัญมากพอ ๆ กับช่วงตั้งท้อง เพราะนอกจากจะช่วยฟื้นฟูให้แผลหายเร็วแล้ว ในช่วงให้นมบุตร น้ำนมแม่จะเป็นหนึ่งในแหล่งสารอาหารเดียวที่ลูกจะได้รับในช่วงแรก คุณแม่ควรรับประทานอาหารอย่างหลากหลาย ให้ได้สารอาหารครบถ้วน เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีด้วย  

จากการศึกษาในปี 2017 พบว่า การกินผักผลไม้ในช่วงให้นมบุตร ส่งผลต่อรสชาติของน้ำนม และเมื่อเด็กได้ดื่มนมแม่ ก็จะช่วยให้เด็กโตขึ้นมาชื่นชอบการกินผักผลไม้หรือสามารถกินผักผลไม้ได้ง่ายขึ้น    

นอกจากนั้น คุณแม่ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะร่างกายต้องใช้ของเหลวมากเป็นพิเศษในการกระตุ้นน้ำนม และยังช่วยป้องกันอาการท้องผูกของคุณแม่ได้อีกด้วย 

รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด

หลังคลอด คุณแม่ยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพร่างกาย ซึ่งสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นมีตั้งแต่ มดลูกค่อย ๆ ลดขนาดกลับลงมาเท่ากับตอนก่อนตั้งครรภ์ อาการปวดที่ค่อยๆลดน้อยลง คัดเต้านม น้ำคาวปลา (ตกขาวมีเลือดปน) ช่องคลอดแห้ง หน้าท้องแตกลาย ผมร่วง หนังย้วย เป็นสิว เหงื่อออกตอนกลางคืน และปวดศีรษะ แม้สิ่งเหล่านี้อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับแผลผ่าตัดเท่าไร แต่ก็เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องเผชิญและต้องดูแลร่างกายไปพร้อม ๆ กับการดูแลแผลผ่าคลอดเช่นกัน  

ซึ่งหากมีอาการไม่พึงประสงค์ สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการบรรเทาอาการเหล่านั้น 

ไปพบหมอสูติฯหลังคลอด 

สถาบัน American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) แนะนำให้คุณแม่หลังคลอดในช่วง 12 สัปดาห์แรก ไปพบสูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจเช็กร่างกาย  

โดยการมาพบแพทย์หลังคลอด แนะนำให้มาภายในไม่เกิน 3 สัปดาห์แรกในครั้งแรก และนัดตรวจครั้งสุดท้ายภายในไม่เกิน 12 สัปดาห์หลังคลอด 

ซึ่งการตรวจร่างกายแพทย์จะตรวจการฟื้นฟูของร่างกาย อาทิ สุขภาพของคุณแม่ แผลผ่าคลอด และยังตรวจสุขภาพจิต พฤติกรรมการนอน สุขภาพของทารกและโภชนาการ รวมถึงการวางแผนคุมกำเนิดหรือความพร้อมในการมีบุตรครั้งถัดไป 

ทั้งนี้ทั้งนั้น หากคุณแม่พบปัญหาด้านสุขภาพ อาการผิดปกติเรื้อรังหลังคลอด ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยไม่ต้องรอตามเวลานัดหมาย 

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 12 ก.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine, Fetal Anomalies, Fetal Cardiology
  • Link to doctor
    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine