- มหาวิทยาลัย Oxford พบว่าประสิทธิภาพของ Pfizer ลดลงครึ่งนึงจาก 88% ภายในระยะเวลา 4 เดือน จนเกือบจะเท่ากับประสิทธิภาพของ AstraZeneca
- การศึกษาที่ Mayo Clinic ประเทศสหรัฐฯ พบว่า Pfizer ป้องกัน Delta ลดลงจาก 89% ในเดือน ก.พ. 64 เหลือแค่ 42% ในเดือน ก.ค. 64 เมื่อเทียบกับ Moderna ซึ่งลดลงจาก 91% เป็น 76% ซึ่งถือว่าประสิทธิภาพยังสูงกว่ามาก
- การศึกษาในประเทศการ์ตาร์พบว่าประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer ในการป้องกันเชื้อเดลต้าลดลงเหลือเพียง 60% ขณะที่วัคซีน Moderna ลดเหลือ 86%
- การศึกษาในประเทศอิสราเอลพบว่า วัคซีน Pfizer สามารถป้องกันเชื้อเดลต้า ได้เพียง 41%
- เข็มกระตุ้นของ Moderna ในสหรัฐอเมริกา จะเป็นรุ่นดั้งเดิม และเป็นการกระตุ้นในประมาณ 50 ไมโครกรัม ซึ่งน้อยกว่าโดสปกติ 50 % โดยมีผลการทดลองที่ชัดเจนว่าการ Moderna เข็มกระตุ้นขนาด 50 ไมโครกรัม สามารถกระตุ้นแอนติบอดี้ต่อสายพันธุ์เบต้าได้ 32 เท่า สายพันธ์ุแกมม่าได้ 43.6 เท่า และสายพันธุ์เดลต้าได้ 42.3 เท่า
- วัคซีน mRNA ในเด็ก Moderna ในประเทศไทยบริษัท Zuellig Pharma อยู่ระหว่างการขออนุญาต อย ในการใช้วัคซีนสำหรับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป
- ทั้งนี้ Moderna อยู่ระหว่างการศึกษาการฉีดวัคซีนในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้จะต้องรอผลการศึกษาที่จะสรุปออกมาในอนาคต
- สำหรับคำถามจากคนทั่วไปเรื่องการฉีดวัคซีน Moderna เป็นเข็มกระตุ้นสำหรับคนไทยที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็ม ว่าจะสามารถรับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 เมื่อไหร่นั้น ขณะนี้ยังคงต้องรอผลการศึกษาในประเทศอังกฤษต่อไป หากมีข้อมูลอัพเดต เราจะมาแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2564