Bruxism อาการนอนกัดฟัน สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และรักษา - MedPark Hospital

อาการกัดฟัน (นอนกัดฟัน)

อาการที่ผู้ป่วยขบกัดฟันเป็นประจําขณะที่ตื่นนอนอยู่หรือกำลังนอนหลับ ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจทําให้ปวดบริเวณกราม ฟัน และข้อต่อขากรรไกร หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาฟันได้รับความเสียหายได้

แชร์

อาการกัดฟัน

เป็นอาการที่ผู้ป่วยขบกัดฟันเป็นประจําขณะที่ตื่นนอนอยู่หรือกำลังนอนหลับ ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจทําให้ปวดบริเวณกราม ฟัน และข้อต่อขากรรไกร หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทําให้รู้สึกปวดศรีษะในตอนเช้าและฟันได้รับความเสียหายได้ การใส่เฝือกสบฟันสามารถช่วยลดอาการดังกล่าว และทำให้การนอนหลับมีคุณภาพดีขึ้น

ประเภทของอาการกัดฟัน

  • การกัดฟันขณะที่ตื่นอยู่: จะเกิดขึ้นในช่วงกลางวันและมักเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่นความเครียด ความโกรธ และความวิตกกังวล อาการกัดฟันประเภทนี้มักไม่ต้องได้รับการรักษา ผู้ป่วยเพียงแค่หมั่นสังเกตตัวเองและหยุดกัดฟัน การจัดการกับความเครียดสามารถช่วยลดของอาการกัดฟันได้
  • การนอนกัดฟัน: เป็นอาการที่ผู้ป่วยกัดฟันขณะนอนหลับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตัวเองนอนกัดฟัน แต่อาจทราบจากคนที่นอนด้วยหรือรู้สึกปวดกรามและฟันเมื่อตื่นนอน จนทำให้ปวดศรีษะได้

อาการของการกัดฟัน

  • กัดฟันมีเสียงดังขณะนอนหลับจนทำให้คนที่นอนข้าง ๆ ตื่น
  • ฟันบิ่นและสึก
  • ผิวฟันสึก รู้สึกเสียวฟัน
  • ปวดกรามและใบหน้า
  • ปวดหัว โดยเฉพาะในตอนเช้า
  • ขากรรไกรค้าง
  • ปวดหู
  • นอนหลับไม่เพียงพอ

สาเหตุ

สาเหตุหลักของการกัดฟันใน ได้แก่

  • ความเครียดและความวิตกกังวล
  • พันธุกรรม

ปัจจัยเสี่ยง

  • นิสัยส่วนตัว คนชอบที่ชอบการแข่งขัน มีความมุ่งมั่นมาก ๆ มักมีแนวโน้มที่จะมีอาการกัดฟัน
  • ยา เช่น ยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (SSRI) ซึ่งเป็นยาคลายความวิตกกังวลประเภทหนึ่ง
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือกาแฟมากกว่า 6 แก้วต่อวัน
  • การสูบบุหรี่

ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์จะมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการกัดฟันมากกว่าคนอื่นถึง 2 เท่า

ภาวะแทรกซ้อน

  • การสึกของฟัน
  • ฟันหลุด
  • ฟันบิ่นหรือฟันโยก
  • ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติและกล้ามเนื้อกรามและคอหดเกร็ง
  • ใบหน้าเปลี่ยนไป
  • ปวดหัว
  • ปวดกราม

การตรวจวินิจฉัย

  • การตรวจร่างกาย: แพทย์จะทำการตรวจกราม ฟัน และข้อต่อขากรรไกรเพื่อดูร่องรอยของอาการกัดฟัน
  • การตรวจการนอนหลับ: ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการตรวจการนอนหลับเพื่อทำการตรวจหาสาเหตุโดยละเอียด

การรักษา

  • เฝือกสบฟัน เป็นอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ฟันและเหงือกได้รับบาดเจ็บ

หากสาเหตุของอาการกัดฟันเกิดจากความเครียด แพทย์อาจแนะนําให้ผู้ป่วย

  • ออกกำลังกาย
  • นั่งสมาธิ
  • กายภาพบําบัด
  • บำบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต

การเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถช่วยลดอาการกัดฟันได้ เช่น

  • หลีกเลี่ยงอุปนิสัยที่ทำให้ฟันสึก เช่น การขบเน้นฟัน (clenching)
  • ลดการบริโภคคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
  • เลิกสูบบุหรี่

การป้องกัน

การตรวจสุขภาพฟันเป็นประจําอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ทำให้ทันตแพทย์ได้ตรวจสุขภาพปากเพื่อหาร่องรอยของอาการกัดฟันตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสียหายในระยะยาวได้

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 03 ม.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ดร.ทพญ. ณัฐกานต์   ฮ้อศิริลักษณ์

    ดร.ทพญ. ณัฐกานต์ ฮ้อศิริลักษณ์

    • ทันตกรรม
    • ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
    ทันตกรรมความผิดปกติข้อต่อขากรรไกร
  • Link to doctor
    ผศ.ทพญ. ภาณุเพ็ญ สิทธิสมวงศ์

    ผศ.ทพญ. ภาณุเพ็ญ สิทธิสมวงศ์

    • ทันตกรรม
    • ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
    ทันตกรรมความผิดปกติข้อต่อขากรรไกร