ขั้นตอนการทำ ก่อนและหลังทำเด็กหลอดแก้ว (IVF - In Vitro Fertilization)

การทําเด็กหลอดแก้ว (IVF - In Vitro Fertilization)

การทําเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF คือเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology: ART) โดยนำสเปิร์มและไข่ออกมาทำการปฏิสนธิในห้องแล็ป ตามด้วยการฝังตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์

แชร์

การทําเด็กหลอดแก้วหรือ IVF คืออะไร

การทําเด็กหลอดแก้วหรือ IVF เป็นเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology: ART) ประเภทหนึ่ง ซึ่งจะนำสเปิร์มและไข่ออกมาทำการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการ ตามด้วยการฝังตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์ การทําเด็กหลอดแก้วหรือ IVF เป็นเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสําหรับผู้ที่มีบุตรยากที่มีปัญหา เช่น

  • จํานวนอสุจิน้อยหรือไม่มีคุณภาพ
  • ท่อนําไข่อุดตันหรือเสียหาย
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
  • เนื้องอกในมดลูก
  • ความเสี่ยงต่อโรคหรือความผิดปกติทางพันธุกรรม

ขั้นตอนการทําเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF

การทําเด็กหลอดแก้วเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ตั้งแต่การเตรียมตัว การเก็บไข่จนถึงการตั้งครรภ์ ผู้ที่มีบุตรยากราว 5% ได้ลองวิธีการทําเด็กหลอดแก้ว และตั้งแต่ปีพ.ศ. 2521 มีทารกที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้วกว่า 8 ล้านคน

ก่อนเริ่มการทําเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF

ผู้เข้ารับบริการจะได้พูดคุยปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการทําเด็กหลอดแก้ว พร้อมตรวจสุขภาพอย่างละเอียด และได้รับการตรวจประเมินภาวะมีบุตรยาก ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์จากประวัติของแต่ละคู่

  • การตรวจภายใน การตรวจ Pap smear และการตรวจแมมโมแกรม (ในรายที่อายุมากกว่า 40 ปี)
  • การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำอสุจิ
  • การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคติดเชื้ออื่น ๆ
  • การตรวจเลือดและปัสสาวะ
  • การตรวจคัดกรองพาหะทางพันธุกรรม
  • การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกหรือการฉีดน้ำเกลือเพื่อตรวจโพรงมดลูกด้วยเครื่องอัลตราซาวด์

จากนั้นผู้เข้ารับบริการจะต้องลงนามในแบบฟอร์มให้ความยินยอมเข้ารับการรักษา เริ่มรับประทานกรดโฟลิก และเรียนรู้วิธีการฉีดยาฮอร์โมน

ระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF

  • การกระตุ้นและตรวจสอบรังไข่
    แพทย์จะจ่ายยาฮอร์โมนแบบฉีด เช่น ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ (FSH) เพื่อกระตุ้นให้ไข่สุกพร้อมกัน พร้อมสำหรับการเก็บไข่ โดยชนิด ปริมาณ และความถี่ของการฉีดฮอร์โมนนั้นขึ้นอยู่กับอายุ ประวัติทางการแพทย์ ระดับฮอร์โมน AMH ที่ผลิตจากรังไข่ และการตอบสนองของร่างกายต่อการกระตุ้นรังไข่
    โดยจะมีการตรวจอัลตราซาวด์และ/หรือการตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดทุก 2-3 วันในช่วง 2 สัปดาห์แรก แพทย์จะตรวจมดลูกและรังไข่ พร้อมทั้งวัดขนาดของถุงรังไข่ โดยถุงรังไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่า 14 มิลลิเมตรมักจะบรรจุไข่ที่สุกพร้อมสำหรับการปฏิสนธิ สุดท้ายแพทย์จะทำการฉีดยากระตุ้นให้ไข่มีการเจริญเติบโตจนสมบูรณ์ประมาณ 36 ชั่วโมงก่อนการเก็บไข่
    ในระหว่างที่ทำการกระตุ้นรังไข่ อาจรู้สึกร้อนวูบวาบ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง รังไข่โต และมีรอยฟกช้ำจากการฉีดฮอร์โมน
  • การเก็บไข่
    แพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกแบบอ่อน ๆ เพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายตัวที่อาจเกิดขึ้นขณะการเก็บไข่ โดยขั้นตอนการเก็บไข่นั้น แพทย์จะทำการสอดเข็มผ่านช่องคลอดเข้าไปยังรังไข่เพื่อเก็บไข่ที่สุกออกมาจากถุงรังไข่ โดยไข่ที่เก็บออกมานั้นจะถูกเก็บไว้ในจานบรรจุสารละลายเฉพาะและเก็บไว้ในตู้ที่มีการควบคุมสภาวะให้เหมาะสม
  • การปฏิสนธิ
    การฉีดสเปิร์มเข้าไปในไซโตพลาสซึมของเซลล์ไข่ (ICSI) จะดําเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน โดยปกติแล้วประมาณ 70% ของไข่ที่สุกแล้วจะปฏิสนธิ หากมีไข่ที่สุกเป็นจำนวนมากและยังไม่อยากทำการปฏิสนธิไข่ทั้งหมดก็สามารถทำการแช่แข็งเก็บไข่ไว้ได้
  • การเจริญเติบโตของตัวอ่อน
    นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะติดตามการพัฒนาของตัวอ่อน โดยตัวอ่อนที่ปฏิสนธิแล้วประมาณ 50% จะพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ได้สําเร็จ หากมีตัวอ่อนเป็นจํานวนมาก แพทย์อาจแนะนําให้แช่แข็งตัวอ่อนเพื่อเก็บตัวอ่อนไว้สำหรับอนาคต อย่างไรก็ตามตัวอ่อนที่แช่แข็งบางตัวอาจไม่มีชีวิตรอดระหว่างกระบวนการแช่แข็งและการละลายตัวอ่อน
  • การย้ายตัวอ่อน
    ก่อนการย้ายตัวอ่อนผู้เข้ารับบริการจะต้องรับประทานยาฮอร์โมนเป็นเวลา 14-21 วันเพื่อเตรียมความพร้อมของมดลูกสําหรับการฝังตัวอ่อน ฮอร์โมนนั้นได้แก่ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งจะทำให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้นและเพิ่มความสำเร็จของการฝังตัวอ่อนและการตั้งครรภ์ ซึ่งโดยปกติแล้วผู้เข้ารับบริการจะต้องรับประทานฮอร์โมนตลอดการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก
    ขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนคล้ายกับการตรวจภายใน ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีก็เสร็จ  ไม่จําเป็นต้องดมยาสลบ  โดยตัวอ่อนจะถูกวางเข้าไปในโพรงมดลูกผ่านทางสายสวน

การย้ายตัวอ่อนมี 2 ประเภทด้วยกัน

    • การย้ายตัวอ่อนรอบสด แพทย์จะทำการใส่ตัวอ่อนสดเข้าไปในโพรงมดลูก 3-7 วันหลังจากการเก็บไข่
    • การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะละลายตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งจากการทําเด็กหลอดแก้วครั้งก่อนและให้แพทย์ใส่ตัวอ่อนเข้าไปในมดลูก วิธีนี้เป็นที่นิยมมากกว่าและอัตราการคลอดมีชีพสูงกว่า การย้ายตัวอ่อนแช่แข็งสามารถทำได้แม้จะทำการเก็บไข่และปฏิสนธิมานานหลายปีแล้วก็ตาม

หากเคยทําเด็กหลอดแก้วหลายครั้งแล้วไม่ประสบความสำเร็จ อาจมีการใช้เทคโนโลยีการช่วยฟักตัวของตัวอ่อน (Assisted Hatching) โดยจะทำการเจาะรูที่เปลือกหุ้มตัวอ่อนก่อนที่จะย้ายตัวอ่อนเข้าไปในมดลูก ซึ่งจะช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูกได้สำเร็จมากขึ้น

หลังการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF

หลังย้ายตัวอ่อนเสร็จแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาสามารถกลับไปทํากิจวัตรประจําวันได้ตามปกติ โดยระหว่างนั้นอาจมีอาการ เช่น เลือดออกทางช่องคลอด ปวดเกร็งท้องเล็กน้อย ท้องอืด คัดเต้านม และท้องผูก แพทย์จะนัดตรวจการตั้งครรภ์ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากการย้ายตัวอ่อน

ความเสี่ยงของการทําเด็กหลอดแก้ว

  • ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการเก็บไข่ เช่น การติดเชื้อ เลือดออก และความเสียหายต่ออวัยวะสืบพันธุ์ ลําไส้ และกระเพาะปัสสาวะ
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • การตั้งครรภ์แฝด
  • การคลอดก่อนกําหนด
  • ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป
  • ความผิดปกติโดยกำเนิดอาจสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากการตั้งครรภ์ล่าช้าหรือสาเหตุพื้นเดิมอื่น ๆ ที่ทำให้มีบุตรยาก

การตั้งครรภ์เด็กหลอดแก้วไม่มีความเสี่ยงสูงเว้นแต่ผู้เข้ารับการรักษามีปัญหาด้านสุขภาพอยู่ก่อน เช่น ความดันโลหิตสูงหรือฝ่ายหญิงอายุมาก  

การทําเด็กหลอดแก้วนั้นอาจพบปัญหาได้ในทุกขั้นตอนเนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น

  • การตกไข่ก่อนเวลา
  • เก็บไข่แล้วไม่ได้ไข่
  • ไข่ไม่สุก
  • ไม่มีการปฏิสนธิ
  • คุณภาพของตัวอสุจิ
  • ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโต
  • ตัวอ่อนฝังตัวในเยื่อบุมดลูกไม่สำเร็จ
  • ปัญหาด้านการเก็บไข่หรือการย้ายตัวอ่อน

ปัจจัยที่ช่วยให้การทําเด็กหลอดแก้วประสบความสำเร็จ ได้แก่ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก สุขภาพ สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก และจํานวนรอบที่ทําเด็กหลอดแก้ว แพทย์จะทำการประเมินขั้นตอนการรักษาและสภาพร่างกายของผู้เข้ารับบริการและกําหนดวิธีการที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความสําเร็จของการตั้งครรภ์ หากการทําเด็กหลอดแก้วไม่ประสบผลสำเร็จ ควรพักร่างกายและจิตใจสักประมาณ 4-6 สัปดาห์จึงกลับเข้ามารับการรักษาอีกครั้ง

การทําเด็กหลอดแก้วอาจทำให้เหนื่อยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความพยายามที่จะมีบุตรอาจทำให้รู้สึกหนักใจ วิตกกังวล ควรพูดคุยกับแพทย์ถึงสิ่งที่อยู่ในใจเพื่อหาทางแก้ไขไปด้วยกัน

อัตราความสําเร็จของการทําเด็กหลอดแก้ว

อายุของแม่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับอัตราความสําเร็จของการตั้งครรภ์และการคลอดมีชีพของเด็กหลอดแก้ว

  • แม่อายุน้อยกว่า 35 ปี จะมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 46.7%
  • แม่อายุ 35 ถึง 37 ปี จะมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 34.2%
  • แม่อายุ 38 ถึง 40 ปี จะมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 21.6%
  • แม่อายุ 41 ถึง 42 จะมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 10.6%
  • แม่อายุ 43 ปีขึ้นไป จะมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 3.2%

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา หากกําลังทำเด็กหลอดแก้วแล้วมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีเลือดออกมากทางช่องคลอด
  • มีเลือดปนในปัสสาวะ
  • มีไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
  • ปวดท้องน้อย
  • ตกขาวผิดปกติ

วีดีโอเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยรักษาภาวะมีบุตรยาก

EP.1 การทำเด็กหลอดแก้ว

EP.2 Embryoscope เทคโนโลยีช่วยติดตามพัฒนาการของตัวอ่อน

EP.3 ERA Test เตรียมผนังมดลูกให้พร้อม เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้

EP.4 การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง Frozen Embryo Transfer

EP.5 การส่องกล้องโพรงมดลูก Hysteroscopy

EP.6 เทคนิคการคัดเลือกอสุจิ เพื่อนำไปใช้ทำ ICSI


หลากหลายครอบครัวที่สำเร็จ เริ่มต้นจากการพูดคุย

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 23 ม.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Infertility, Fertility Preservation, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    • นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
    Urogynecology, Female Pelvic Reconstructive Surgery, Minimally Invasive Gynecology, Menopause
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. วิสันต์ เสรีภาพงศ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. นเรศร สุขเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช