กระดูกขากรรไกรผิดปกติ เกิดจากอะไร อาการ การรักษา - Jaw Abnormalities

กระดูกขากรรไกรผิดปกติ (Jaw abnormalities)

ขากรรไกร (Jawbone) คือกระดูกที่อยู่บริเวณส่วนกลางและส่วนล่างของใบหน้า ทำหน้าที่ในการสนับสนุนฟัน กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหว พูด กลืน บดเคี้ยวอาหาร

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


กระดูกขากรรไกรผิดปกติ (Jaw abnormalities)

ขากรรไกร  (Jawbone) คือกระดูกที่อยู่บริเวณส่วนกลางและส่วนล่างของใบหน้า ทำหน้าที่ในการสนับสนุนฟัน กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหว พูด กลืน บดเคี้ยวอาหาร นอกจากนั้นยังเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างใบหน้า ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล รวมถึงมีผลในเรื่องของความสวยงามด้วยเช่นกัน

กระดูกขากรรไกรผิดปกติ เป็นอย่างไร เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการของกระดูกขากรรไกรผิดปกติที่สามารถพบเจอได้บ่อย ได้แก่ ขากรรไกรยื่น ขากรรไกรล่างถอย คางสั้น ใบหน้าอูม ยิ้มเห็นเหงือกชัดมาก ใบหน้าเบี้ยว เป็นต้น สาเหตุหลักนั้น เกิดจากพันธุกรรม กรรมพันธุ์ ร่วมกับพัฒนาการ หรือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ รวมถึงปัจจัยอื่นที่อาจเกี่ยวข้องเช่น กระดูกขากรรไกรได้รับบาดเจ็บในช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต เช่น อุบัติเหตุ การล้ม หรือการกระแทกที่ส่งผลต่อกระดูกขากรรไกร หรือพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติเช่น การดูดนิ้ว การใช้ลิ้นดันฟันขณะพูดหรือกลืน เป็นต้น 

อันตรายและผลกระทบจากภาวะขากรรไกรผิดปกติ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีกระดูกขากรรไกรผิดปกติ ได้แก่

  • การสบฟันที่ผิดปกติ ส่งผลต่อการเคี้ยวหรือกลืนอาหาร 
  • การปิดริมฝีปากไม่สนิท ปิดริมฝีปากได้ลำบาก ทำให้พูดไม่ชัด ความมั่นใจน้อยลง 
  • การนอนกรน พบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะคางถอย เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

จะรู้ได้อย่างไร ว่ามีภาวะขากรรไกรผิดปกติ

ภาวะขากรรไกรผิดปกติ สามารถสังเกตได้เบื้องต้นจากความผิดปกติของรูปร่างใบหน้า เช่น การมีคางยื่น หรือการมีขากรรไกรถอยเข้าไปด้านใน หรือคางสั้น เป็นต้น แต่หากต้องการคำวินิจฉัยที่ถูกต้องแท้จริง แนะนำให้พบทันตแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางในด้านการผ่าตัดขากรรไกร หรือการจัดฟัน เพื่อทำการประเมินความผิดปกติอย่างถูกต้อง เหมาะสม

เมื่อไรที่ควรพบแพทย์ หากพบว่ามีภาวะขากรรไกรผิดปกติ

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีความผิดปกติของขากรรไกร มักจะมาพบแพทย์โดยที่ไม่รู้ตัวว่าตนมีความผิดปกติดังกล่าว แต่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น อ้าปากแล้วมีเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร ซึ่งอาจเกิดจากคางที่ถอยมาด้านหลัง เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องสังเกตความรุนแรงของอาการผิดปกติ ว่าส่งผลกระทบต่อชีวิตมากน้อยเพียงใด หากพบว่าอาการผิดปกติที่คนไข้มีนั้น รุนแรง ทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด หรือการจัดฟันเพื่อทำการรักษาอาการผิดปกติดังกล่าว แต่ถ้าหากว่าไม่มีอาการร้ายแรงอะไร สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติอยู่ ก็ควรที่จะเข้าพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และรับคำแนะนำในการใช้ชีวิตที่เหมาะสม

การผ่าตัดขากรรไกร มีความเสี่ยงหรือไม่อย่างไร

การผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกขากรรไกรผิดปกตินั้น ส่วนใหญ่มักจะทำเมื่อผู้ป่วยมีอายุประมาณ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่กระดูกขากรรไกรไม่มีการเจริญเติบโตมากไปกว่านี้แล้ว

การผ่าตัดขากรรไกรมีความเสี่ยง เพราะการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร จะทำการตัดส่วนของกระดูกขากรรไกรและทำการเลื่อน หรือวางตำแหน่งใหม่ จึงอาจส่งผลให้อวัยวะในบริเวณที่ทำการผ่าตัดเกิดอันตรายได้ เช่น ฟันล่าง เมื่อทำการเลื่อนขากรรไกร รอยผ่าตัดอาจผ่านไปโดนส่วนที่เป็นเส้นประสาท ทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลให้เกิดอาการชาบริเวณริมฝีปาก หรือคางได้ โดยอาการชาอาจกินระยะเวลานานเป็นปี 

การผ่าตัดขากรรไกรมีกี่แบบ

การผ่าตัดขากรรไกร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลัก คือ การผ่าตัดขากรรไกรบน และ การผ่าตัดขากรรไกรล่าง เพื่อเลื่อนตำแหน่งของขากรรไกร และอาจมีการผ่าตัดอื่น ๆ เพื่อช่วยเสริมการปรับสมดุลของใบหน้า เช่น การปรับตำแหน่งของคาง การปรับตำแหน่งของมุมกราม การปรับตำแหน่งของมุมโหนกแก้ม รวมถึงการจัดฟันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการสบฟัน

ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดมีอะไรบ้าง จะลดโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงได้อย่างไร

ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่เกิดขึ้นบ่อย ได้แก่ อาการชาริมฝีปากหลังการผ่าตัด เนื่องจากรอยผ่ามีการพาดผ่านบริเวณที่เป็นเส้นประสาทที่รับความรู้สึก แต่ในปัจจุบันมีการใช้ซอฟต์แวร์ช่วยคำนวณ และช่วยในการปรับตำแหน่งของขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมอย่างแม่นยำ หลีกเลี่ยงตำแหน่งของเส้นประสาทต่าง ๆ ได้

ผ่าตัดขากรรไกรควรเตรียมตัวอย่างไร

การผ่าตัดขากรรไกร เป็นการผ่าตัดใหญ่ จำเป็นจะต้องมีการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเป็นอย่างดี ได้แก่

  • งดผ่าตัดบริเวณใบหน้าประมาณ 6 เดือน
  • งดสูบบุหรี่ 2 เดือน 
  • งดรับประทานอาหารเสริม 1 เดือน
  • หากคนไข้มีโรคประจำตัว ต้องแจ้งแพทย์ประจำตัว เพื่อให้แพทย์ประจำตัวและแพทย์ที่ทำการผ่าตัดขากรรไกร เตรียมตัวในการผ่าตัดอย่างเหมาะสม

แผลผ่าตัดกระดูกขากรรไกรใช้เวลาฟื้นตัวนานแค่ไหน

ในเรื่องของการผ่าตัดขากรรไกร เป็นการเลื่อนตำแหน่งของขากรรไกร โดยเปลี่ยนตำแหน่งของกระดูก ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อโดยรอบ และกระดูกที่เคลื่อนตัว จะหายเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด เนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่ถูกเปิดและเย็บปิดจะเริ่มหาย ส่วนโครงสร้างกระดูกใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนจึงจะประสานตัวติดกันดี

อาหารที่ควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่แนะนำในช่วง 1 เดือนแรก ต้องเป็นอาหารที่หลีกเลี่ยงการเคี้ยวโดยเด็ดขาด อาหารที่รับประทานได้จึงเป็นอาหารเหลว อาหารที่เป็นน้ำ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรก ควรเป็นอาหารเหลวใส เพื่อความสะอาดของแผล หลังจากแผลเริ่มดีขึ้น ก็จะสามารถปรับความข้นของอาหารได้ หลังจากผ่าตัดผ่านไป 1 เดือน กระดูกจะเริ่มติดกันพอสมควร สามารถปรับการทานอาหาร ให้เป็นอาหารที่สามารถเคี้ยวได้ แต่ยังคงต้องมีสัมผัสที่นุ่มนิ่ม ไม่แข็ง หลังจากผ่าตัด 3 เดือน จึงสามารถทานอาหารได้ตามปกติ

อาการแทรกซ้อนและสิ่งที่ควรระวัง

อาการแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัดขากรรไกร ได้แก่

  • การติดเชื้อ
  • การบวม มีเลือดออก
  • การผ่าตัดขากรรไกรล่างอาจมีความรู้สึกชา จากการบาดเจ็บของเส้นประสาท
  • การผ่าตัดขากรรไกรบน อาจมีเรื่องของเลือดคั่งบริเวณไซนัส บริเวณข้างจมูก อาจทำให้เกิดอาการไซนัสอักเสบได้
  • หากในช่วง 1 เดือนแรก ได้รับบาดเจ็บจากการเคี้ยวของที่แข็งเกินไป อาจส่งผลให้เกิดการเคลื่อนตัวของกระดูกขากรรไกร ซึ่งอาจต้องผ่าตัดแก้ไข และติดเหล็กยึดกระดูกใหม่อีกครั้ง

แม้ปัญหาเรื่องของกระดูกขากรรไกรผิดปกติ อาจไม่ใช่อาการเจ็บป่วย หรือภาวะผิดปกติที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน แต่ปัญหานี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและคุณภาพชีวิตโดยรวม ตั้งแต่การรับประทานอาหาร การพูด การสื่อสาร รวมไปถึงบุคลิกภาพ ความสวยงาม ดังนั้น หากมีความสงสัย หรือมีความต้องการในการรักษา ขอแนะนำให้เข้าพบทันตแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดขากรรไกร และการจัดฟัน ที่ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลเมดพาร์ค เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 01 ก.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ทพญ. บุญญนาถ กึนสี

    ทพญ. บุญญนาถ กึนสี

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ทพญ. กรรวี เขียวเจริญ

    ทพญ. กรรวี เขียวเจริญ

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า, เวชศาสตร์ช่องปาก, ทันตกรรมศัลยกรรมช่องปาก
  • Link to doctor
    ผศ.ทพญ. ณฤษพร ชัยประกิจ

    ผศ.ทพญ. ณฤษพร ชัยประกิจ

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ทพญ. พิสชา พิทยพัฒน์

    ทพญ. พิสชา พิทยพัฒน์

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ทพ. จักรพันธุ์ สามไพบูลย์

    ทพ. จักรพันธุ์ สามไพบูลย์

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ผศ.ทพ. เกียรติอนันต์ บุญศิริเศรษฐ

    ผศ.ทพ. เกียรติอนันต์ บุญศิริเศรษฐ

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ทพญ. เทพิน บุญญะพานิชสกุล

    ทพญ. เทพิน บุญญะพานิชสกุล

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมศัลยกรรมช่องปาก