รพ.เมดพาร์ค จัดสัมมนาวิชาการ Cardiac Arrhythmia Conference ยกระดับการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 โรงพยาบาลเมดพาร์ค ร่วมกับ Boston Scientific ยกระดับการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยการจัดกิจกรรมสัมมนาวิชาการ Cardiac Arrhythmia Conference ในหัวข้อ Advances in Diagnosis and Management of Cardiac Arrhythmias โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยมี ศ. นพ.สิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ ณ เดอะ ฟอรัม ชั้น M โรงพยาบาลเมดพาร์ค
สำหรับการสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ เป็นการพูดคุยและความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการวินิจฉัยและการจัดการภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยมีอาจารย์แพทยืผู้ทรงคุณวุฒิด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจหลายท่าน ให้เกียรติเป็นวิทยาบรรยายให้ความรู้ นำโดย
- ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม อายุรแพทย์เฉพาะทาง ผู้ชำนาญการด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเมดพาร์ค
- ศ. นพ.กฤษณ์ จงนรังสิน อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ University of Michigan
- รศ. นพ.ธีธัช อนันต์วัฒนสุข อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
- รศ.นพ.รณพิชัย โชคสุวัฒนสกุล อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
- นพ.นฤพัฒน์ แสงพรสุข อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
- พญ.ศนิศรา จันทรจำนง อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ โรงพยาบาลเมดพาร์ค
เนื้อหาในการบรรยายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้เหมาะกับผู้ฟังที่มีทั้งประชาชนทั่วไป และบุคลากรทางการแพทย์ โดยเนื้อหาสำหรับประชาชนผู้สนใจจะเป็นเทคนิคการสังเกตสัญญาณเตือนและวิธีรับมือเมื่อพบว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเนื้อหาวิชาการเชิงลึก สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ จะเป็นแนวทางในการตรวจวินิจฉัย การรักษาที่เหมาะสม และการแนะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการนำเทคโนโลยีการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ Atrial Fibrillation (AF) ด้วย Pulsed Field Ablation (PFA) ที่มีความแม่นยำสูง ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้ดี มีประสิทธิภาพสูง และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีเดิม มาให้แพทย์ทุกท่านได้มีโอกาสทดลองทำเวิร์คชอป
การสัมมนาในครั้งนี้ ถือเป็นการยกระดับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งถือเป็นโรคยากซับซ้อน และช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์นำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น