โรคและการรักษา

เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI

เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI (Transcatheter aortic valve implantation) คือ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบด้วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด สายสวนจะถูกเจาะและใส่ไปตามแนวหลอดเลือด

Goto page arrow icon

ตรวจสุขภาพ (Health Checkup)

ตรวจสุขภาพ (Health Checkup) คือ การตรวจคัดกรองร่างกายเบื้องต้นเพื่อให้ทราบข้อมูลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้เข้ารับการตรวจ รวมถึงค้นหาปัจจัยเสี่ยง โรค หรือความผิดปกติที่อาจต้องได้รับการตรวจเฉพาะทางเพิ่มเติม

Goto page arrow icon

รีวิว ตรวจมะเร็งปอด ที่เมดพาร์ค แม่นยำ รู้ทันโรค ลดเสี่ยง เลี่ยงป่วย

ความน่ากลัวของมะเร็งปอด คือคนจำนวนมากแทบไม่รู้ตัวมาก่อนเลยว่าตนเองป่วย เพราะโรคมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นไม่มีอาการ สัญญาณบ่งชี้ใด ๆ ทำให้กว่าจะมีอาการป่วยจนต้องมาพบแพทย์

Goto page arrow icon

ปลูกถ่ายไขกระดูก สเต็มเซลล์ (Bone Marrow Transplant)

การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplant) หรือสเต็มเซลล์ คือ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดปกติเข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดที่มีความสมบูรณ์ แทนเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดผิดปกติ

Goto page arrow icon

PTSD ภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง

PTSD คือ ภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic Stress Disorder) สภาวะทางจิตใจหลังเผชิญเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนร่างกาย จิตใจอย่างรุนแรง ทำให้รู้สึกเหมือนตกอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ

Goto page arrow icon

ตรวจ MRA (Magnetic Resonance Angiography)

ตรวจ MRA คือ การตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดและระบบไหลเวียนโลหิต โดยที่ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ซึ่งช่วยในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดแข็งหรือลิ่มเลือดอุดตัน

Goto page arrow icon

SPECT CT เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตรวจวินิจฉัยโรค

SPECT CT คือ การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อวินิจฉัยโรคโดยการใช้เทคโนโลยีร่วมระหว่างเครื่อง SPECT และ CT พร้อมกับการใช้สารเภสัชรังสี ตรวจจับการทำงานของอวัยวะและหาความผิดปกติในร่างกายระดับเซลล์

Goto page arrow icon

ภาวะเบื่ออาหาร (Loss of Appetite)

เบื่ออาหาร เป็นอาการที่รู้สึกอิ่ม ไม่หิว ไม่อยากอาหารหรือพะอืดพะอมเมื่อเห็นอาหาร ภาวะนี้มักเป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วครั้งคราว โดยอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันหรือค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป

Goto page arrow icon

ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา DMEK ขั้นตอน ข้อดี พักฟื้น

การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา DMEK (Descemet membrane endothelial keratoplasty) คือ การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะส่วนหลังที่มีรอยโรคหรือเสื่อมสภาพออก และปลูกถ่ายกระจกตาดีที่ได้รับจากผู้บริจาคเข้าไปแทนที่

Goto page arrow icon

รีวิว ตรวจตาเด็กก่อนวัยเรียนที่เมดพาร์ค ตรวจละเอียด คุณหมอใจดี ทราบผลทันที

“ดวงตา” เป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้เต็มที่ แต่ถ้าลูกมีปัญหาสายตาโดยที่ตัวเขาเองก็ไม่รู้ และไม่สามารถบอกได้ว่าสายตาที่พร่ามัวนั้นคือหนึ่งในสัญญาณผิดปกติทางการมองเห็น

Goto page arrow icon

ผ่าตัดตาเหล่ ตาเข (Strabismus surgery) ชนิด อาการ การรักษา

การผ่าตัดตาเหล่ ตาเข (Strabismus surgery) คือ การรักษาอาการตาเหล่ ตาเข หรือภาวะที่ตาทั้งสองข้างไม่มองขนานไปในทิศทางเดียวกัน โดยการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อลูกตาเพื่อปรับสมดุลให้ลูกตาดำอยู่ในแกนตั้งและแกนนอนเดียวกัน

Goto page arrow icon

ลมพิษ (Urticaria) สาเหตุ อาการ การรักษา

ลมพิษ (Urticaria, hives) หรือ ผื่นลมพิษ คือ ผื่นผิวหนังที่มีอาการคัน บวม เป็นผื่น ปื้นนูนแดง เป็นแนวยาว มีขอบชัดเจนที่บริเวณส่วนหนึ่งส่วนใดของผิวหนัง หรือกระจายตัวทั่วร่างกายคล้ายแมลงสัตว์กัดต่อย ลมพิษ เป็นปฏิกิริยา

Goto page arrow icon

วีเนียร์ (Veneers) คืออะไร ขั้นตอน ข้อดี มีกี่ชนิด เหมาะกับใคร

วีเนียร์ คือ นวัตกรรมการเคลือบผิวฟันเทียมบนผิวหน้าของฟัน โดยการใช้วัสดุเสมือนฟัน เพื่อแก้ไขความบกพร่องด้านรูปลักษณ์ต่าง ๆ ของฟัน เช่น ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันดำ ฟันเหลือง ฟันสึก ฟันห่าง ฟันไม่เรียงตัว ฟันไม่สวยงาม

Goto page arrow icon

กระดูกขากรรไกรผิดปกติ (Jaw abnormalities)

ขากรรไกร (Jawbone) คือกระดูกที่อยู่บริเวณส่วนกลางและส่วนล่างของใบหน้า ทำหน้าที่ในการสนับสนุนฟัน กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหว พูด กลืน บดเคี้ยวอาหาร

Goto page arrow icon

โรคปากนกกระจอก (Angular Cheilitis)

โรคปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ผิวบริเวณมุมปากจะแห้งตึงเป็นสะเก็ด หลายคนมักสับสนโรคปากนกกระจอกกับโรคเริมที่ปาก

Goto page arrow icon

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer) เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เยื่อบุทางเดินปัสสาวะ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดจะสูง ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจำเป็นต้องพบแพทย์สม่ำเสมอ

Goto page arrow icon

เลเซอร์รักษานอนกรน (Laser Snoring Treatment) ขั้นตอน ข้อดี

เลเซอร์รักษานอนกรน (Laser snoring treatment) คือ หนึ่งในวิธีการรักษาอาการนอนกรนโดยการใช้เลเซอร์ชนิดเออร์เบียม (Er: YAG laser) ยิงไปยังอวัยวะภายในช่องปาก บริเวณเพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้นไก่ และโคนลิ้น

Goto page arrow icon

โรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อย (Common Genetic Disorders)

โรคทางพันธุกรรม (Common Genetic Disorders) เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน โดยยีนของคนเราประกอบด้วยสารพันธุกรรมหรือ DNA จากทั้งพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด ดังนั้นเราอาจได้รับยีนที่มีการกลายพันธุ์มาจากพ่อแม่ได้เช่นกัน

Goto page arrow icon

การตั้งครรภ์แฝด ท้องแฝด (Multiple Pregnancy)

ตั้งครรภ์แฝด ท้องลูกแฝด (Multiple Pregnancy) คือ การตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาต่าง ๆ ในการตั้งครรภ์

Goto page arrow icon

รักษามะเร็งตับด้วย Y-90 ขั้นตอน ข้อดี

การรักษามะเร็งตับด้วย Y-90 (Y-90 Radioembolization) คือ การรักษามะเร็งตับโดยใช้อนุภาคกัมมันตรังสีอิตเทรียม 90 (Yttrium 90) มุ่งเป้าเข้าไปรักษามะเร็งตับหรือเนื้องอกตับโดยตรงผ่านสายสวนหลอดเลือดแดง

Goto page arrow icon

รีวิว ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ เป็นประจำทุก ๆ 1 - 2 ปี ช่วยให้ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งการตรวจเจอมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสรักษาหายขาดได้สูงถึง 95%

Goto page arrow icon

ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา DSAEK ขั้นตอน ข้อดี พักฟื้น

การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา DSAEK (Descemet’s stripping automated endothelial keratoplasty) คือ การผ่าตัดนำกระจกตาส่วนหลังที่เสื่อมสภาพหรือมีรอยโรคออก และปลูกถ่ายกระจกตาสภาพดีที่ได้รับจากผู้บริจาคเข้าไปแทนที่

Goto page arrow icon

โรคไวรัสตับอักเสบ (Viral Hepatitis)

โรคไวรัสตับอักเสบ คือโรคร้ายที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบที่ตับ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการตับแข็ง และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับได้

Goto page arrow icon

ไทรอยด์ขึ้นตา (Thyroid Eye Disease)

โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมนไทรอยด์ที่เพิ่มขึ้นสูงจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย หนึ่งในนั้นคือระบบการมองเห็น หรือที่เรียกกันว่า ไทรอยด์ขึ้นตา

Goto page arrow icon

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างเป็นเส้นยาวรี มักพบในดินและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในสัตว์ที่เลี้ยงในบ้าน หรือสัตว์ป่าได้ โรคนี้พบได้ทั่วโลก

Goto page arrow icon

ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน PGT-A ขั้นตอน ข้อดี ใช้เวลากี่วัน

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน PGT-A (Preimplantation genetic testing for aneuploidies) คือ การตรวจคัดกรองตัวอ่อนที่มีโครโมโซมครบ 23 คู่ ในขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) ก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตั้งครรภ์ได้สำเร็จ

Goto page arrow icon

โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy)

โรคสมองพิการ เป็นโรคทางระบบประสาท ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางด้านกล้ามเนื้อ ท่าทาง และการเคลื่อนไหว เนื่องจากสมองได้รับความเสียหายระหว่างที่ตัวอ่อนกำลังพัฒนา โดยมักมีสัญญาณหรืออาการของโรคแสดงให้เห็นตั้งแต่ในวัยทารก

Goto page arrow icon

ลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) อาการ สาเหตุ การวินิจฉัยและการรักษา

ลิ่มเลือดอุดตัน เป็นภาวะที่ภายในหลอดเลือดมีลิ่มเลือดเกิดขึ้น โดยลิ่มเลือดนั้นอาจอุดตันจุดที่ลิ่มเลือดก่อตัวขึ้น เลือดจะไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา

Goto page arrow icon

ภาวะพร่องเอนไซม์ (G6PD Deficiency) อาการ สาเหจุ ปัจจัยเสี่ยง การรักษา

ภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส (G6PD) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ร่างกายมีระดับเอนไซม์ G6PD ต่ำ ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยปกป้องเซลล์เม็ดเลือดแดงจากอนุมูลอิสระที่เป็นอันตราย

Goto page arrow icon

SMILE Pro ขั้นตอน ข้อดี เหมาะกับใคร

SMILE Pro คือ เทคโนโลยีการผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติรุ่นล่าสุดด้วย Femtosecond Laser ที่ทันสมัยที่สุดด้วยเครื่อง Visumax 800 ในการยิงเลเซอร์แยกชั้นเนื้อเยื่อกระจกตาออกเป็นแผ่นบาง ๆ ให้มีรูปร่างคล้ายเลนส์

Goto page arrow icon

น้ำในหูไม่เท่ากัน (Ménière Disease) อาการ สาเหตุ การวินิจฉัยและการรักษา

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน ซึ่งส่งผลต่อการได้ยินและการทรงตัว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการมักจะค่อย ๆ แย่ลงจนไม่สามารถรักษาให้กลับมาดีอย่างเดิมได้

Goto page arrow icon

ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน EmbryoScope Plus

EmbryoScope+ ถือเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการทำเด็กหลอดแก้ว นวัตกรรมตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน EmbryoScope+ เลียนแบบสภาพทางสรีรวิทยาภายในครรภ์ของมารดา

Goto page arrow icon

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Jaundice in Newborns)

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เป็นอาการที่มักพบได้บ่อยในทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนด

Goto page arrow icon

ผ่าตัดส่องกล้องนิ่วในถุงน้ำดี แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดส่องกล้องนิ่วในถุงน้ำดี (Laparoscopic cholecystectomy) คือ การรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องผ่านช่องท้องแบบแผลเล็กเพื่อนำถุงน้ำดีและนิ่วออก สาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดท้องรุนแรงใต้ชายโครงขวา

Goto page arrow icon

ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope แผลเล็ก หายเร็ว

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope คือ วิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก เจ็บน้อย (MIS) ขนาดแผลผ่าตัดเล็ก 8-10 มม. เพียง 1 แผล ผ่านการส่องกล้องเพื่อรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังและร้าวลงขา

Goto page arrow icon

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial cancer)

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เกิดจากการที่เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดปกติ มักตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น มีอาการแสดง เช่น เลือดออกทางช่องคลอด

Goto page arrow icon

MRI การตรวจด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ

MRI การตรวจวินิจฉัยโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ เพื่อสร้างภาพ 3 มิติความละเอียดสูงของอวัยวะและเนื้อเยื่อภายในร่างกายเพื่อช่วยในการหาสาเหตุของโรคต่าง ๆ

Goto page arrow icon

การตรวจการได้ยิน (Hearing Test)

ตรวจการได้ยิน เป็นการประเมินว่าผู้มารับการตรวจสูญเสียการได้ยินหรือไม่และสูญเสียมากน้อยแค่ไหน การตรวจการได้ยินนั้นไม่เจ็บและไม่ต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ ยกเว้นการตรวจบางชนิด

Goto page arrow icon

อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome)

อาการก่อนมีประจำเดือน ทางกายและทางอารมณ์ เช่น ท้องอืด อ่อนเพลีย หงุดหงิด เศร้า สามารถบรรเทาได้ด้วยยาและการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต

Goto page arrow icon

คลอดลูกธรรมชาติ (Vaginal Delivery)

การคลอดธรรมชาติ เป็นการคลอดปกติผ่านทางช่องคลอด ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำและปลอดภัยต่อทั้งบุตรและมารดา

Goto page arrow icon

ประจำเดือนมามากผิดปกติ (Heavy Menstrual Bleeding)

ประจำเดือนมามากผิดปกติ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเสียเลือดประจำเดือนมากกว่า 80 มิลลิลิตร ในระหว่างรอบเดือนหรือมีประจำเดือนนานกว่า 7 วัน

Goto page arrow icon

ปวดเข่า (Knee pain)

อาการปวดเข่าเกิดจากบาดเจ็บหรือโรค เช่น ข้อเข่าเสื่อม เกาต์ หรือข้ออักเสบ รักษาเบื้องต้นด้วยกายอุปกรณ์และกายภาพบำบัด อาการรุนแรงอาจต้องผ่าตัดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Goto page arrow icon

เลือดเป็นกรด (Diabetic ketoacidosis)

ภาวะเลือดเป็นกรด DKA (Diabetic ketoacidosis) เกิดขึ้นเมื่อระดับอินซูลินในร่างกายต่ำมาก ทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สามารถเข้าไปในเซลล์ เพื่อถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน ร่างกายจะย่อยไขมันเพื่อใช้เป็นพลังงานแทนน้ำตาล

Goto page arrow icon

ไอเป็นเลือด (Coughing Up Blood)

ไอเป็นเลือด คืออาการที่ไอแล้วมีเลือดสด หรือ มูกเลือดออกมา โดยเลือดดังกล่าวเป็นเลือดจากทางเดินหายใจส่วนล่าง อันได้แก่ หลอดลมและปอด แตกต่างจากอาการอาเจียนเป็นเลือด เลือดจากอาการไอเป็นเลือดมักเป็นฟองและมูก

Goto page arrow icon

ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ (Premature Rupture of Membranes)

ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ คือภาวะน้ำเดินหรือน้ำคร่ำรั่วก่อนที่จะปวดท้องคลอด หากถุงน้ำคร่ำแตกหลังอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ แพทย์มักแนะนำให้ทำการคลอดทันที

Goto page arrow icon

ถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

โรคถุงลมโป่งพอง คือ กลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ทำลายถุงลมในปอด ส่งผลให้ทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้หายใจลำบาก รักษาคุณภาพชีวิตได้ด้วยการตรวจวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

Goto page arrow icon

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS)

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ เป็นภาวะที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ เพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย และเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เบาหวาน และอ้วน การรักษาช่วยบรรเทาอาการได้

Goto page arrow icon

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary Embolism)

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด เกิดจากการที่ลิ่มเลือดไปอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดแดงในปอด เป็นภาวะที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต การได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยลดโอกาสในการเสียชีวิตได้

Goto page arrow icon

เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis)

เอ็นร้อยหวาย: เส้นเอ็นใหญ่ที่สุดที่ช่วยในการเดิน วิ่ง และกระโดด

Goto page arrow icon

ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive Bladder)

ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถผ่อนคลายเพื่อเก็บปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดหรือมีอาการปวดปัสสาวะฉับพลัน

Goto page arrow icon

หลังค่อม (Kyphosis)

หลังค่อม (Kyphosis) เกิดจากการที่หลังส่วนบน (บริเวณช่วงอก) โค้งมาด้านหน้า มีสาเหตุมาจากกระดูกสันหลังที่โค้ง ทำให้มีปัญหาในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ปัญหาในระบบย่อยอาหาร เป็นต้น

Goto page arrow icon

ท้าวแสนปม (Neurofibromatosis)

ท้าวแสนปม (Neurofibromatosis) คือกลุ่มอาการทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดเนื้องอกบนผิวหนังทั่วร่างกาย และตามเส้นประสาท เนื้องอกที่เกิดขึ้นมักจะไม่ใช่เนื้อร้าย แต่มีโอกาสจะกลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งได้

Goto page arrow icon

คีโม เคมีบำบัด (Chemotherapy) สู้มะเร็ง วิธีให้ ผลข้างเคียง

คีโม (Chemotherapy) หรือ เคมีบำบัด คือ วิธีการรักษามะเร็งด้วยกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย พร้อมทั้งยับยั้งไม่ให้เซลล์มะเร็งแบ่งตัว เติบโต แพร่กระจาย และตายลงในที่สุด การให้คีโม ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง

Goto page arrow icon

ตรวจหาเชื้อ HPV คืออะไร ขั้นตอนและผลตรวจ

การตรวจหาเชื้อ HPV เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส สายพันธุ์เสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มีทั้งหมดสิบสี่สายพันธ์ รวมทั้งสายพันธุ์หลัก HPV 16 และ HPV 18

Goto page arrow icon

ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว TLIF แผลเล็ก เจ็บน้อย

การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว TLIF (Transforaminal lumbar interbody fusion) คือ วิธีการรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมสภาพ ทรุด จนเกิดการเคลื่อนทับเส้นประสาทและทำให้มีอาการปวดหลัง

Goto page arrow icon

การตรวจแปปสเมียร์ Pap Smear (Cervical Cancer Screening)

การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) คือ การเก็บเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือ ห้องแล็ป เพื่อหาความผิดปกติของเซลล์ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกยังสามารถตรวจพบการติดเชื้อรา แบคทีเรีย

Goto page arrow icon

นิ้วโป้งเท้าเอียง Bunions (Hallux Valgus)

นิ้วโป้งเท้าเอียง (Bunions หรือ Hallux Valgus) เป็นภาวะที่โคนของนิ้วโป้งเท้าปูดออกมาด้านใน ส่วนปลายนิ้วหัวแม่เท้าจะเอนเข้าไปหานิ้วเท้าอื่น ภาวะนี้มีสาเหตุจากการสวมใส่รองเท้าที่บีบรัดปลายเท้า เท้าผิดรูป หรือเพราะโรคต่าง ๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์

Goto page arrow icon

การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy)

การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะแสบขัด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะลำบาก แพทย์จะทำการสอดกล้อง cystoscope ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะ

Goto page arrow icon

การผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก (Minimally Invasive Heart Surgery)

การผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก คือเทคนิคการรักษาโรคหัวใจอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้แพทย์ผ่าตัดหัวใจผ่านแผลผ่าตัดขนาดเล็กขนาดเพียง 2-3 นิ้ว เสียเลือดน้อย เจ็บปวดน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว

Goto page arrow icon

อาการใจสั่น หัวใจเต็นเร็ว (Heart Palpitations)

ใจสั่น คือ อาการที่หัวใจเต้นแรงและรู้สึกว่าเต้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งอาจเกิดจากความรู้สึกวิตกกังวล การตั้งครรภ์ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาหารรสเผ็ด อาการใจสั่นเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่จะไม่อันตราย

Goto page arrow icon

อาการแพ้น้ำ โรคลมพิษจากการสัมผัสน้ำ (Aquagenic Urticaria)

โรคลมพิษจากการสัมผัสน้ำ (aquagenic urticaria) เป็นปฏิกิริยาผื่นแพ้ผิวหนังที่พบได้ยาก เกิดขึ้นหลังจากผิวหนังสัมผัสกับน้ำ ซึ่งรวมถึงน้ำตาและเหงื่อ หลังจากสัมผัสน้ำจะเกิดอาการบวม คัน ผื่นลมพิษขนาด 1-3 มม. โดยอาการแพ้นี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่หลังสัมผัสน้ำ

Goto page arrow icon

ผิวไหม้แดด (Sunburn)

ผิวไหม้แดด (Sunburn) คือ เวลาที่เราอยู่กลางแดดจัดนาน ๆ แสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเล็ตจะทำลายเซลล์ผิวหนังของเราและผิวอาจเริ่มไหม้แดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องตากแดดเป็นเวลานานต่อเนื่องเป็นประจำหรือมีอาการผิวไหม้แดดบ่อย ๆ

Goto page arrow icon

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Complex coronary artery disease)

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Complex coronary artery disease) คือ อาการที่เลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ จนกล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น เหนื่อยง่าย และหรือมีอาการแน่นหน้าอกเวลาออกแรง

Goto page arrow icon

ฝากครรภ์ (Antenatal care) เมื่อไหร่ดี มีกี่ครั้ง ตรวจอะไรบ้าง

การฝากครรภ์ (Antenatal care) คือ การดูแลสุขภาพตั้งแต่เมื่อเริ่มตั้งครรภ์จนถึงวันกำหนดคลอด การฝากครรภ์ควรเริ่มทำทันทีที่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์โดยการนัดตรวจสุขภาพกับสูตินรีแพทย์เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ เริ่มฝากครรภ์

Goto page arrow icon

รีวิว ตรวจสุขภาพประจำปี Health Checkup ที่เมดพาร์ค ง่าย ครบ จบ คุ้ม

ใครที่กำลังมองหา แพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปี ที่มีความคุ้มค่า ตรวจครบทั้งตัว ฟังผลกับคุณหมอครบทุกรายการได้ในวันเดียว ต้องห้ามพลาด รีวิว โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี Platinum Checkup ที่เมดพาร์ค

Goto page arrow icon

กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis)

กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis) ภายในกล่องเสียงของคนเราจะมีเส้นเสียงที่เปิดปิดได้ เมื่ออากาศผ่านเส้นเสียงจะเกิดการสั่นสะเทือน เกิดเป็นเสียงพูด เมื่อกล่องเสียงติดเชื้อ ระคายเคือง หรือมีการใช้เสียงมากเกินไป จะทำให้เส้นเสียงบวม เสียงแหบ

Goto page arrow icon

ตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT calcium score)

ตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT calcium score) คือ การตรวจวัดปริมาณแคลเซียมสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกเรย์คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง

Goto page arrow icon

กระจกตาอักเสบ (Keratitis)

กระจกตาอักเสบ (Keratitis) คือการอักเสบของกระจกตา โดยอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อก็ได้ ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อมีอาการ เช่น ปวดตา ตาแดง ตาบวม หรือน้ำตาไหล การทำความสะอาดคอนแทกเลนส์อย่างเหมาะสมถือเป็นปัจจัยสำคัญ

Goto page arrow icon

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นการตรวจเพื่อดูสภาพภายในของลำไส้ โดยมักใช้วิธีนี้เพื่อตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ และทวารหนัก และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โดยการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักนั้นแนะนำให้ทำในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป

Goto page arrow icon

ปวดขาหนีบ (Groin Strains)

อาการปวดขาหนีบ เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อขาหนีบ พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นนักกีฬา อาการปวดขาหนีบจะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบยืดตัวมากเกินไปจนเกิดการฉีกขาด สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการปวดขาหนีบ แพทย์จะตรวจร่างกายหรือใช้วิธีต่าง ๆ

Goto page arrow icon

การเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อตรวจวินิจฉัย (Liver Biopsy)

การเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อตรวจ (Liver Biopsy) เป็นการใช้เข็มเฉพาะสำหรับการเจาะชิ้นเนื้อตับออกมา เพื่อให้นักพยาธิวิทยาศึกษาและตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ ทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสภาพตับของผู้เข้ารับการตรวจ

Goto page arrow icon

การตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

การตรวจตาด้วยเครื่องมือพิเศษ corneal topography เป็นการตรวจวิเคราะห์กระจกตาอย่างละเอียด ให้ข้อมูลลักษณะพื้นฐานทางกายภาพของกระจกตา ไม่ว่าจะเป็นค่าความโค้ง กำลังการหักเหแสง รูปร่างและความหนาของกระจกตา

Goto page arrow icon

เลเซอร์รักษาภาวะจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน ภาวะจุดรับชมภาพบวม

เลเซอร์รักษาภาวะจอประสาทตาเสื่อม เป็นวิธีการรักษาอาการบวมที่บริเวณจุดภาพชัด (macular edema) มักมีสาเหตุมาจากการที่หลอดเลือดในตาได้รับความเสียหายจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดเปียก หากปล่อยทิ้งไว้

Goto page arrow icon

การยิงเลเซอร์เปิดช่องถุงหุ้มเลนส์ (YAG Laser Posterior Capsulotomy)

การยิงเลเซอร์เปิดช่องในถุงหุ้มเลนส์ (YAG Laser Posterior Capsulotomy) เป็นหัตถการเพื่อรักษาภาวะถุงหุ้มเลนส์ขุ่นหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา โดยการใช้เลเซอร์เปิดช่องขนาดเล็กที่ถุงหุ้มเลนส์ เพื่อให้แสงผ่านเข้าไปที่จอประสามตาและผู้ป่วยสามารถกลับมามองเห็น

Goto page arrow icon

ผ่าตัดมะเร็งผิวหนังด้วยวิธีโมหส์ (Mohs Surgery)

การผ่าตัดมะเร็งผิวหนังด้วยวิธีโมหส์ (Mohs surgery) คือ วิธีการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังด้วยเทคนิคการผ่าตัดเฉพาะบริเวณมะเร็งผิวหนังและขอบรอบรอยโรคออกเป็นชั้นบาง ๆ ทีละชั้น และนำส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

Goto page arrow icon

ตรวจการทำงานของไต (Kidney Function Tests)

การตรวจค่าไต หรือ ตรวจการทำงานของไต เป็นการตรวจเพื่อประเมินการทำงานและสุขภาพของไต การตรวจการทำงานของไตมีหลายชนิด โดยมักจะตรวจทางเลือดและปัสสาวะ

Goto page arrow icon

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)

โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) เกิดจากเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเป็นถุงบาง ๆ ที่เรียกกันว่า "ถุงหุ้มหัวใจ (pericardium)" เกิดการอักเสบบวม ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บแปลบที่หน้าอก

Goto page arrow icon

ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyps)

ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyps) คือติ่งเนื้อ หรือ ก้อนในจมูกที่ไม่เป็นมะเร็ง แม้ว่าติ่งเนื้อในจมูกนี้จะไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด แต่ถ้าหากมีขนาดใหญ่หรือมีอยู่ด้วยกันหลายก้อนอาจขัดขวางทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบาก หรือคัดจมูก

Goto page arrow icon

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia)

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (hypercalcemia) คือภาวะที่ปริมาณแคลเซียมในเลือดเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงแบบปฐมภูมิ มะเร็งบางชนิด ภาวะวิตามินดีสูงเกินไป โรคบางชนิด หรือยาบางอย่าง การรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูงได้แก่การรับประทานยา

Goto page arrow icon

ตรวจวัดกรดในหลอดอาหารด้วยแคปซูล (Bravo Esophageal pH Test)

การตรวจวัดกรดในหลอดอาหารด้วยแคปซูล (Bravo Esophageal pH Test) เป็นการตรวจว่ามีการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารขึ้นมาที่หลอดอาหารหรือไม่ และเกิดขึ้นเวลาใดบ้าง ช่วยในการวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนได้

Goto page arrow icon

ตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก (ERA) เพื่อการฝังตัวของตัวอ่อนที่สมบูรณ์

การตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Receptivity Analysis: ERA)เป็นการตรวจความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกและตรวจรหัสพันธุกรรมเพื่อประเมินว่าเยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนหรือไม่ ช่วยให้แพทย์ประเมินช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้รับบริการ

Goto page arrow icon

การแช่แข็งอสุจิ แช่แข็งสเปิร์ม (Sperm Freezing)

การแช่แข็งอสุจิ แช่แข็งสเปิร์ม (Sperm Freezing หรือ Sperm Cryopreservation) เป็นการเก็บรักษาอสุจิโดยวิธีการแช่แข็งสำหรับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น การฉีดเชื้อผสมเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างครอบครัวและมีบุตรในอนาคต

Goto page arrow icon

ตรวจ CBC หรือ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count)

ตรวจ CBC หรือ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count) คือการตรวจเลือดที่วิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ของเลือด เพื่อช่วยการวินิจฉัยโรคหรืออาการ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ธาลัสซีเมีย และภาวะโลหิตจาง เป็นต้น

Goto page arrow icon

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary incontinence)

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ คือการมีปัสสาวะเล็ดออกมานอกร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ สามารถแบ่งภาวะนี้ได้เป็นหลายประเภท วิธีรักษาภาวะนี้จะพิจารณาตามความรุนแรง ประเภท และสาเหตุ นอกจากนี้ อาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกันรักษา

Goto page arrow icon

ผ่าตัดบายพาสหัวใจ (CABG) ขั้นตอน ข้อดี พักฟื้นกี่วัน

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) คือ การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจข้ามบริเวณหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันรุนแรงไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ โดยการนำหลอดเลือดที่แข็งแรงจากส่วนอื่น

Goto page arrow icon

ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย EST (Exercise Stress Test)

การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย หรือ ตรวจ EST ช่วยประเมินการทำงานของหัวใจขณะที่ออกกำลังกายหรือทำงานหนัก โดยเป็นการตรวจประเมินการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ปริมาณออกซิเจนในเลือด กระแสไฟฟ้าหัวใจ และสมรรถภาพร่างกาย

Goto page arrow icon

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) มีสาเหตุเกิดจากหัวใจได้รับความเสียหาย และอ่อนแอลง ทำให้ห้องหัวใจขยายตัวใหญ่ขึ้น หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอ หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากหัวใจห้องล่างแข็งตัว จนคลายตัวรับเลือดเข้ามาได้ไม่พอ

Goto page arrow icon

ปวดท้องน้อย (Pelvic pain) แบบไหนอันตราย ต้องหาหมอโดยเร็ว

ปวดท้องน้อย (Pelvic pain) คือ อาการปวดท้องส่วนล่างตั้งแต่บริเวณใต้สะดือลงไปจนถึงหัวหน่าว อาการปวดท้องน้อยเกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากโรคทั่วไป เช่น ท้องผูก อาหารเป็นพิษ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

Goto page arrow icon

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Stones)

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Stones) คือผลึกเกลือแร่ที่จับตัวกันเป็นก้อนอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายขับปัสสาวะออกได้ไม่หมด โดยนิ่วขนาดเล็กนั้นมักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ และร่างกายสามารถขับออกทางปัสสาวะได้

Goto page arrow icon

การแท้งบุตร แท้งลูก (Miscarriage)

การแท้งบุตร แท้งลูก คือการตั้งครรภ์ยุติลงโดยไม่คาดคิดภายใน 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ราว 80% ของการแท้งบุตรเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกหรือ 14 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งมักเกิดได้จากหลายสาเหตุ เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้

Goto page arrow icon

โรคบูลิเมีย โรคล้วงคอ (Bulimia Nervosa)

โรคบูลิเมีย หรือ โรคล้วงคอ (Bulimia Nervosa) คือพฤติกรรมการที่กินผิดปกติ โดยที่ผู้ที่เป็นโรคบูลิเมียจะมีอาการกินไม่หยุด (รับประทานอาหารในปริมาณมากในช่วงเวลาหนึ่ง) แล้วพยายามกำจัดอาหารออกด้วยวิธีต่างๆ เช่น ล้วงคอ มีทั้งอาการทางกาย พฤติกรรม

Goto page arrow icon

ตรวจ MRI หัวใจ หรือตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า Cardiac MRI

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ ตรวจ MRI เป็นการถ่ายภาพหัวใจโดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในการสร้างภาพ ช่วยในการตรวจปัญหาในห้องหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ และประเมินการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ นับเป็นวิธีที่ปลอดภัย

Goto page arrow icon

อัลตราซาวด์ช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound)

การอัลตราซาวด์ช่องคลอด คือการตรวจโดยการใช้หัวตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงขนาดเล็กสอดเข้าในช่องคลอด เพื่อสร้างภาพภายในอุ้งเชิงกราน ซึ่งรวมถึงปากมดลูก มดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ มีประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยโครงสร้างอวัยวะภายใน

Goto page arrow icon

ตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid Doppler Ultrasound)

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ หรือ Doppler Ultrasound เป็นการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อประเมินการไหลเวียนของเลือด เป็นวิธีที่ไม่รุกล้ำและไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ช่วยให้ทราบถึงความเร็ว

Goto page arrow icon

ฉีดสีหัวใจ (CAG) ขั้นตอน ข้อดี พักฟื้นกี่วัน

การฉีดสีหัวใจ (Coronary angiogram) คือ การตรวจพิเศษทางรังสีและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโดยการใส่สายสวนหัวใจขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มม. ไปตามแนวหลอดเลือดแดงผ่านทางข้อมือ ข้อพับ หรือขาหนีบ

Goto page arrow icon

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นปัญหาทางสุขภาพจิต ผู้ป่วยมีความย้ำคิดหรือมีความคิดผุดขึ้นมาเรื่อย  ๆ ซ้ำ ๆ จนนำไปสู่การย้ำทำหรือการทำอะไรซ้ำ ๆ ไม่สามารถควบคุมความคิดของตนได้ และส่วนใหญ่จะทราบดีว่าความคิดเหล่านั้นไม่สมเหตุสมผล

Goto page arrow icon

นอนกรน (Snoring)

อาการนอนกรน (Snoring) เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ผู้ที่นอนกรนร่วมกับอาการนอนไม่อิ่ม หายใจลำบากตอนนอน เจ็บหน้าอกตอนกลางคืน ง่วงนอนตอนกลางวันมาก ปวดหัวตอนเช้า เจ็บคอเมื่อตื่นนอน เด็กที่มีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นขณะนอนหลับ มักไม่ค่อยมีสมาธิ

Goto page arrow icon

เลสิก (LASIK) ขั้นตอน ข้อดี มีกี่แบบ เหมาะกับใคร

เลสิก (LASIK) คือ เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติแบบถาวรเพื่อรักษาปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง โดยการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ชนิดพิเศษ Femtosecond Laser เปิดฝากระจกตาชั้นนอก

Goto page arrow icon

ตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ (NST) ขั้นตอน และผลตรวจ

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ Nonstress Test (NST) คือ การตรวจคัดกรองสุขภาพของทารกในครรภ์ เป็นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะที่ทารกดิ้น  เพื่อประเมินว่าทารกได้รับออกซิเจนเพียงพอหรือไม่ เป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด

Goto page arrow icon

Eyelid Spa Treatment การนวดและทำความสะอาดเปลือกตา

การทำความสะอาดเปลือกตาด้วย Eyelid Spa ช่วยแก้ปัญหาตาแห้งที่เกิดจากต่อมไขมันเปลือกตาทำงานผิดปกติ เป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่เปลือกตา ตาแห้ง ตาแดง ระคายเคืองตา หรือแม้กระทั่งเป็นโรคตากุ้งยิง โรคตาแห้งจากจากต่อมไขมันเปลือกตาทำงานผิดปกติ

Goto page arrow icon

พังผืดในปอด (Pulmonary Fibrosis)

โรคพังผืดในปอด (Pulmonary Fibrosis) คือโรคทางเดินหายใจ ซึ่งเนื้อเยื่อปอดที่อยู่ระหว่างถุงลมปอดเกิดเป็นแผล จนเนื้อเยื่อดังกล่าวหนาและแข็งตัว ทำให้ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผ่านออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดได้ไม่เพียงพอ

Goto page arrow icon

ตรวจวัดฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone)

การตรวจวัดฮอร์โมน AMH เป็นการตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH ในเลือด เพื่อประเมินการทำงานของรังไข่ รวมถึงปริมาณของฟองไข่สะสม การวัดระดับฮอร์โมน AMH ในเพศหญิงนั้นสามารถช่วยประเมินสุขภาพและความพร้อมในการมีบุตรได้

Goto page arrow icon

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเยื่อหุ้มสมองเกิดการอักเสบ โดยเยื่อหุ้มสมอง คือเนื้อเยื่อชั้นนอกที่ห่อหุ้มรอบสมองและไขสันหลัง ส่วนมากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมักเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต

Goto page arrow icon

ตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (ABI)

การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (ABI) เป็นหัตถการสำหรับตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ โดยการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงนี้จะช่วยให้ทราบถึงความรุนแรงของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ แขนและขามีออกซิเจนไปเลี้ยงเพียงพอหรือไม่

Goto page arrow icon

โลหิตจาง (Anemia)

โลหิตจาง (Anemia) หรือภาวะซีด คือ ภาวะที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินในเลือดน้อยกว่าปกติ ฮีโมโกลบินเป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ

Goto page arrow icon

ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด (PCI)

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด (Percutaneous coronary intervention หรือ PCI) เป็นวิธีที่แพทย์มักจะใช้รักษาหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เป็นการรักษาที่จำเป็นต่อผู้ป่วยที่มีคราบไขมัน (Plague) ในหลอดเลือดแดง โดยเกิดจากการสะสมของสารจำพวกไขมัน คลอเรสเตอรอล

Goto page arrow icon

การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง (Abdominal Ultrasound)

การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง เป็นการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงที่หูของคนเราไม่ได้ยิน สร้างภาพอวัยวะและหลอดเลือดภายในช่องท้อง โดย transducer ส่งคลื่นเสียงความถี่สูงและสะท้อนภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์

Goto page arrow icon

จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)

โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือภูมิแพ้อากาศ เกิดขึ้นเมื่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสร มูลของไรฝุ่น แมลง เชื้อรา และขนหรือสะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง กระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านสารเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดอาการจาม เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล

Goto page arrow icon

ปวดหัว (Headache) มีกี่ประเภท สาเหตุ อาการ การรักษา

ปวดหัว (Headache) หรือปวดศีรษะ คือ ลักษณะอาการปวดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งบริเวณศีรษะ อาการปวดหัวมีหลายรูปแบบทั้งปวดหัวแบบถูกกดบีบ ปวดหัวแปล๊บ ๆ ปวดหัวจี๊ด ๆ ปวดหัวตุบ ๆ หรือปวดหัวตื้อ ๆ

Goto page arrow icon

ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง (High-Risk Pregnancy)

ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง มักพบในสตรีที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 17 ปี หรือมากกว่า 35 ปี โดยสตรีที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน

Goto page arrow icon

ภาวะม่านตาอักเสบ (Uveitis)

ภาวะม่านตาอักเสบ เป็นการอักเสบของของผนังชั้นกลางของลูกตา ส่งผลให้เนื้อเยื่อในภายในลูกตาทำงานได้น้อยลง จากการถูกทำลายโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวและสารกระตุ้นการอักเสบ อาจส่งผลให้การมองเห็นลดลงหรือถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้

Goto page arrow icon

สูญเสียการได้ยิน (Hearing Loss)

การค่อย ๆ สูญเสียการได้ยินเนื่องจากอายุที่มากขึ้นหรือภาวะหูตึงในผู้สูงอายุถือเป็นเรื่องปกติ อายุที่มากขึ้นและการได้ยินเสียงดังเป็นประจำทุกวันเป็นปัจจัยที่ทำให้เซลล์ขนเสื่อมสภาพ จนสูญเสียการได้ยิน ไม่สามารถแก้ไขให้กลับมาดีดังเดิมได้

Goto page arrow icon

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome)

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome หรือ Willis-Ekbom disease) เป็นโรคทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการนอน ซึ่งผู้ป่วยต้องการจะขยับขาเนื่องจากรู้สึกไม่สบายตัว เมื่อขยับแล้วถึงรู้สึกดีขึ้น โดยมักมีอาการขณะที่พักผ่อนหรือนอนหลับ

Goto page arrow icon

การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (Open-Heart Surgery)

การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เป็นการผ่าตัดโดยใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม มาทำหน้าที่แทนหัวใจและปอด ขณะที่ผ่าตัด ศัลยแพทย์จะทำการหยุดหัวใจ ไม่ให้เลือดไหลเข้าไปในหัวใจเพื่อจะสามารถเปิดเข้าไปในหัวใจเพื่อแก้ไขสิ่งผิดปกติได้

Goto page arrow icon

เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Yeast Infection)

โรคเชื้อราในช่องคลอดพบในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้ที่ยังมีประจำเดือน เชื้อราหรือยีสต์ที่เป็นสาเหตุของโรคมีชื่อเรียกว่า Candida โดยอาการแสดงของโรคคืออาการคันและระคายเคืองที่ปากช่องคลอดหรือบริเวณรอบ ๆ โรคเชื้อราในช่องคลอดเกิดซ้ำได้

Goto page arrow icon

ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) หยุดหายใจขณะหลับ นอนกรน

การตรวจการนอนหลับ (Sleep test) คือ การตรวจวิเคราะห์ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายขณะนอนหลับเพื่อหาสาเหตุแห่งโรคและความผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เช่น การนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

Goto page arrow icon

ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) สาเหตุ อาการ การรักษา

ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) หรือกลุ่มอาการดาวน์ คือ โรคทางพันธุกรรมแต่กำเนิดที่เกิดจากความผิดปกติในการแบ่งเซลล์ของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมาทั้งแท่งหรือบางส่วน ส่งผลให้มีความบกพร่องของระดับเชาวน์ปัญญา

Goto page arrow icon

สังเกตสักนิด ถ้าคิดถึงแพ้อาหาร

โรคแพ้อาหาร (Food allergy) เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง เกิดจากร่างกายเกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อสารโปรตีนในอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุทางเดินอาหาร ไม่ค่อยพบผู้ป่วยโรคแพ้อาหารที่แพ้ต่ออาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท

Goto page arrow icon

ภาวะเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ (Bleeding After Sex)

ภาวะเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ พบได้ในทุกช่วงวัยของสตรี โดยประมาณร้อยละ 9 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์มักมีประวัติเคยมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนใหญ่ของการมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์มักมีปริมาณไม่มากและอาจไม่ต้องกังวลมาก

Goto page arrow icon

ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากการที่แบคทีเรียก่อโรคบางชนิดในช่องคลอดเจริญเติบโตมากเกินไป จนทำให้เกิดความไม่สมดุลในช่องคลอด เกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้สีและกลิ่นของตกขาวเปลี่ยนไป

Goto page arrow icon

การรักษาด้วยพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP)

การรักษาด้วยพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้น หรือ Platelet-Rich Plasma (PRP) คือวิธีการรักษาที่ใช้เกล็ดเลือดมาซ่อมแซมเส้นเอ็นที่มีอาการอักเสบ หรือรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมระยะแรก เกล็ดเลือด เป็นส่วนประกอบในเลือดที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว

Goto page arrow icon

ภาวะเลือดออกใต้เยื่อบุตา (Subconjunctival Hemorrhage)

ภาวะเลือดออกใต้เยื่อบุตา คือภาวะที่เส้นเลือดฝอยบริเวณดวงตาแตก ทำให้มีเลือดออกที่ตา ซึ่งภาวะนี้ถือว่าเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและหายได้เอง ไม่ส่งผลต่อการมองเห็น

Goto page arrow icon

ผิวแตกลาย รอยแตกตามร่างกาย (Stretch Marks)

ผิวแตกลาย หรือ รอยแตกลาย มักปรากฎเป็นรอยเส้นบุ๋มลงไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หน้าอก ท้อง สะโพก และบั้นท้าย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์มักจะมีรอยแตกลายปรากฎขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์

Goto page arrow icon

การตรวจโรคซึมเศร้า (Depression Test)

แพทย์ผู้ชำนาญการจะทำการตรวจโรคซึมเศร้าเบื้องต้นโดยการซักประวัติ อาการ โรคประจำตัว ประวัติครอบครัว อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ระยะเวลาที่มีอาการ พร้อมทั้งร่วมเปิดอกพูดคุยถึงสิ่งที่อยู่ในใจ

Goto page arrow icon

ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea)

ภาวะขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ คือการที่ไม่มีประจำเดือนนานราว 3-6 เดือน อาการคือการไม่มีประจำเดือน โดยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะขาดประจำเดือน

Goto page arrow icon

พัฒนาการล่าช้าในเด็ก (Developmental Delay in Children)

เด็กพัฒนาการช้า คือพัฒนาการด้านหนึ่งหรือหลายด้านล่าช้า เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน พ่อแม่ ผู้ปกครองอาจเริ่มมีความกังวลใจ การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการบำบัดอย่างทันท่วงทีนั้นสามารถช่วยกระตุ้นให้บุตรหลานมีพัฒนาการที่เหมาะสม

Goto page arrow icon

ภาวะเท้าแบน (Flat Feet)

เท้าแบน (Flat Feet) หรือ ภาวะเท้าแบน (Flatfoot) เป็นภาวะที่เท้าไม่มีส่วนโค้งที่บริเวณอุ้งเท้า เมื่อยืน อุ้งเท้าจะแบน สัมผัสกับพื้น โดยเด็กแรกเกิดนั้นจะมีเท้าที่แบน จนอายุ 6 ปี จึงเริ่มมีอุ้งเท้า

Goto page arrow icon

รักษารากฟัน รากฟันอักเสบ สาเหตุ อาการ ขั้นตอนรักษา

การรักษารากฟัน (Root canal treatment) คือ วิธีการรักษาทางทันตกรรมบริเวณเนื้อเยื่อในฟัน โพรงเนื้อเยื่อในฟัน หรือคลองรากฟัน ที่เกิดการอักเสบ ติดเชื้อจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปทำลายรากฟัน เนื้อเยื่อในฟัน

Goto page arrow icon

ผ่าตัดกระดูกสันหลังคด (Scoliosis Surgery)

การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด (Scoliosis surgery) คือ การรักษาภาวะกระดูกสันหลังไม่ตั้งตรง กระดูกสันหลังบิดเอียง หมุนตัว หรือโค้งงอออกไปทางด้านข้างเป็นรูปตัว s หรือตัว c โดยมีมุมการคดของกระดูกสันหลังคด (Curve magnitude) มากกว่า10 องศา

Goto page arrow icon

มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

มะเร็งเต้านม เกิดจากเซลล์ที่เจริญเติบโตรวดเร็วมากผิดปกติ โดยเฉพาะเซลล์ในท่อน้ำนมและเนื้อเยื่อบุผิวต่อมน้ำนมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนในเต้านมหรือมะเร็งเต้านม การเจริญเติบโตที่ผิดปกตินี้อาจลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่น ๆ

Goto page arrow icon

ฟอกสีฟัน ฟอกฟันขาว มีกี่แบบ ขั้นตอนการทำ ราคาเท่าไหร่

ฟอกสีฟัน หรือ ฟอกฟันขาว (Teeth Whitening Treatment) คือกระบวนการรักษาทางทันตกรรมที่ช่วยฟอกฟันเหลือง ฟันดำ ฟันคล้ำให้สีฟันขาวกระจ่างขึ้นด้วยนวัตกรรมฟอกสีฟันระบบ LED Light

Goto page arrow icon

PET/CT การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเพทซีทีสแกน

การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเพทซีที (PET/CT) เป็นการตรวจดูอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในร่างกายในระดับโมเลกุลโดยใช้สารเภสัชรังสี สามารถตรวจวินิจฉัยหารอยโรคได้หลากหลายชนิด แต่ที่นิยมคือการตรวจหาโรคมะเร็ง

Goto page arrow icon

เนื้องอกต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodules)

เนื้องอกต่อมไทรอยด์ มักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เนื้องอกที่มีขนาดใหญ่จะสามารถคลำพบหรือมองเห็นได้ที่คอ ซึ่งเนื้องอกเหล่านี้อาจจะไปเบียดหลอดอาหาร ทำให้มีปัญหาด้านการกลืนหรือหายใจติดขัด

Goto page arrow icon

อาการหายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด (Dyspnea)

อาการหายใจลำบาก (Dyspnea) คือความรู้สึก หายใจไม่เต็มปอด รู้สึกแน่นหน้าอก และต้องออกแรงมากเพื่อหายใจเอาอากาศเข้าไป อาการหายใจลำบากเป็นสัญญาณของอาการฉุกเฉินที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

Goto page arrow icon

ตรวจแมมโมแกรม 3 มิติ (Tomosynthesis (3D) Digital Mammography)

ตรวจมะเร็งเต้านม หรือ ตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) ด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิทัล 3 มิติ (Tomosynthesis 3D Digital Mammography) สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และวินิจฉัยโรคได้ในคราวเดียว มีความโดดเด่นอยู่ที่แขนเอกซ์เรย์ที่เคลื่อนผ่านเต้านม

Goto page arrow icon

เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (ภูมิแพ้ขึ้นตาในผู้ใหญ่)

โรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคภูมิแพ้ขึ้นตา เกิดจากการที่เยื่อบุตาหรือเยื่อหุ้มเซลล์ของลูกตาไปสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือสปอร์เชื้อรา ทำให้เกิดอาการตาแดง คัน น้ำตาไหล

Goto page arrow icon

ปัสสาวะเป็นเลือด (Blood in the urine)

ปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะปนเลือด เกิดจากการติดเชื้อ การออกกำลังหนักมาก ๆ และโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ หากสังเกตเห็นว่ามีเลือดในปัสสาวะ ควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

Goto page arrow icon

มาลาเรีย (Malaria)

มาลาเรีย (Malaria) ไข้ป่า หรือไข้จับสั่น คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว (Protozoa) ในกลุ่มพลาสโมเดียม (Plasmodium spp.) ที่มียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำโรคไข้มาลาเรียสู่คนจากการเข้าป่าและถูกยุงกัดจนทำให้มีไข้สูง

Goto page arrow icon

โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infections)

โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้ออีโคไล โดยเชื้อแบคทีเรียอาจเดินทางผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปยังท่อไตและทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะและไตได้

Goto page arrow icon

ภาวะขาดวิตามินเอ (Vitamin A Deficiency)

ภาวะขาดวิตามินเอ คือการที่ร่างกายได้รับวิตามินไม่เพียงพอจนอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ตาบอดกลางคืน ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการรับประทานวิตามินเอเสริม และสามารถป้องกันได้หากรับประทานอาหารมีวิตามินเอสูง

Goto page arrow icon

ไข้หวัด ตามฤดูกาล (Common Cold)

โรคไข้หวัด คือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่ติดต่อกันได้ง่าย เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีมากกว่า 200 สายพันธุ์ แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดจะเป็นเชื้อไรโนไวรัส โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใหญ่อาจป่วยเป็นไข้หวัด 2-3 ครั้งต่อปี

Goto page arrow icon

การแบ่งเกรดตัวอ่อน สำหรับทำเด็กหลอดแก้ว

การแบ่งเกรดตัวอ่อน เป็นวิธีการช่วยคัดเลือกและประเมินคุณภาพตัวอ่อนสำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว มักทำในวันที่ 3 และวันที่ 5 หลังเก็บไข่ โดยแพทย์จะประเมินระดับความพร้อมของตัวอ่อนแต่ละตัว และเวลาที่เหมาะสม

Goto page arrow icon

ผมร่วง (Hair loss)

ผมร่วง (Hair loss) คือ การหลุดร่วงของเส้นผมบนหนังศีรษะหรือเส้นขนบนผิวหนังบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามวงจรชีวิตของเส้นผมที่มีการเสื่อมสภาพตามอายุ หลุดร่วง และงอกขึ้นใหม่ ผมร่วงยังอาจมีสาเหตุจาก กรรมพันธุ์

Goto page arrow icon

หนังตาตก (Ptosis)

ภาวะหนังตาตก เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยอาจมีอาการเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ บางรายอาจมีภาวะหนังตาตกมาตั้งแต่กำเนิด แต่บางรายมีอาการเมื่ออายุมากขึ้นหรืออาจเป็นผลจากโรคอื่น

Goto page arrow icon

ปวดกล้ามเนื้อ (Muscle Pain)

อาการปวดกล้ามเนื้อ (Muscle Pain or Myalgia) อาจมีสาเหตุมาจากอาการบาดเจ็บ การติดเชื้อโรคต่าง ๆ หรือปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งอาการปวดกล้ามเนื้ออาจเป็นอาการชั่วคราว อาการเรื้อรัง ปวดเฉพาะที่หรือทั่วร่างกาย

Goto page arrow icon

เวียนหัว บ้านหมุน (Vertigo)

อาการบ้านหมุน คือการมองเห็นสิ่งแวดล้อมหมุน หรือเป็นความรู้สึกตัวเองหมุน แม้ว่าตัวเราจะนิ่งอยู่กับที่ก็ตาม หากสังเกตอาการบ้านหมุนแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์หูคอจมูกเพื่อได้รับวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษาที่เหมาะสม

Goto page arrow icon

ซิฟิลิส (Syphilis)

ซิฟิลิส (Syphilis) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ผ่านการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา พาลลิดัม (Treponema pallidum) สาเหตุที่ทำให้เป็นแผลซิฟิลิส หรือแผลริมแข็ง (Chancre)

Goto page arrow icon

ตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy)

การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูก  คือ ภาวะที่ตัวอ่อนฝังตัวที่บริเวณนอกมดลูก ซึ่ง 90% มักเกิดที่ท่อนำไข่ การตั้งครรภ์นอกมดลูกอาจเกิดขึ้นได้ที่รังไข่ ช่องท้อง หรือปากมดลูกแต่พบได้น้อย

Goto page arrow icon

สิวที่หลัง (Back Acne)

สิวที่หลัง เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน อันเนื่องมาจากผิวหนังที่ตายแล้ว เหงื่อ หรือสิ่งสกปรกผสมเข้ากับไขมันหรือซีบัมที่ถูกผลิตจากต่อมไขมันที่ผิวหนัง ซึ่งสิวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่บนผิวหนังของร่างกาย

Goto page arrow icon

สิว (Acne)

สิว (Acne) คือ สภาพผิวที่เกิดจากการอุดตันด้วยน้ำมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้วภายในต่อมไขมันใต้ระดับรูขุมขนจนทำให้เกิดสิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ขึ้นบริเวณปากรูขุมขนบนผิวหนัง สิวอักเสบ

Goto page arrow icon

ตะคริว (Muscle Cramps)

ตะคริว เกิดจากการที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหรือหลายมัดเกิดการหดตัวกะทันหัน ทำให้รู้สึกปวดจี๊ดและมักรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ออกกำลังกายอย่างหนักโดยเฉพาะในเวลาที่อากาศร้อน ยาหรือโรคบางอย่างอาจส่งผลให้เป็นตะคริว

Goto page arrow icon

ภาวะโคลิก (Colic)

ภาวะโคลิก คืออาการที่ลูกน้อยร้องไห้อย่างหนัก ไม่ว่าจะพยายามปลอบโยนอย่างไรก็ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด จึงทำให้คนสมัยก่อนเรียกอาการนี้ว่า “เด็กเห็นผี” แต่แท้จริงแล้วภาวะโคลิคเกิดจากอาการจุกเสียดของเด็กทารก

Goto page arrow icon

โปลิโอ (Polio)

โปลิโอ (Polio) หรือโรคไข้ไขสันหลังอักเสบ คือโรคติดเชื้อร้ายแรงเฉียบพลันที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนเข้าทำลายระบบประสาทส่วนกลาง และเซลล์ประสาทสั่งการทำให้กล้ามเนื้อ

Goto page arrow icon

ภาวะเหงือกร่น (Gum Recession)

ภาวะเหงือกร่น คือ โรคเหงือกประเภทหนึ่งที่เนื้อเยื่อเหงือกร่นออกจากเนื้อฟันจนเผยให้เห็นรากฟัน ภาวะนี้ทำให้ฟันผุได้ง่ายขึ้นและทำให้เกิดอาการเสียวฟันขณะแปรงฟันหรือรับประทานอาหาร

Goto page arrow icon

ไข้เลือดออก (Dengue fever)

ไข้เลือดออก (Dengue fever) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคสู่คนผ่านการกัดของยุงลายที่เคยกัดคนที่ติดเชื้อไวรัสเดงกี 1 ใน 4 สายพันธุ์ (DENV-1—DENV-4)

Goto page arrow icon

โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

โรคกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังเกิดการบิดตัวและโค้งงอออกด้านข้าง โดยมีอาการที่สังเกตได้ คือ ความสูงไหล่ หรือ สะโพก 2 ข้างไม่เท่ากัน สะบัก หรือ หน้าอกข้างหนึ่ง ยืดออกไม่สมดุลกับอีกข้าง

Goto page arrow icon

ภาวะปากแห้ง (Dry Mouth)

ภาวะปากแห้ง พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้ใหญ่ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ผู้สูงอายุราว 1 ใน 5 มีภาวะปากแห้ง และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการของภาวะนี้ ได้แก่ มีความรู้สึกแห้ง เหนียว ๆ แสบร้อน หรือเสียวปาก

Goto page arrow icon

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ 3.9 มิลลิโมลต่อลิตรในผู้ป่วยเบาหวาน หรือต่ำกว่า 55 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ 3.1 มิลลิโมลต่อลิตรในคนทั่วไป

Goto page arrow icon

โรคลมหลับ

โรคลมหลับ คือ ปัญหาเรื่องการนอนหลับเรื้อรัง ที่มีอาการง่วงนอนตอนกลางวันมากผิดปกติ และรู้สึกง่วงนอนโดยฉับพลัน การทำให้ตัวเองรู้สึกตัวตื่นอยู่กลายเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ป่วยโรคลมหลับ

Goto page arrow icon

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังเนื่องจากการนั่งทำงานอย่างไม่เหมาะสม พบได้บ่อยในพนักงานออฟฟิศที่มักใช้เวลานั่งทำงานนาน ๆ ในท่าเดิม ๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์

Goto page arrow icon

ความเครียด (Stress)

ความเครียด หรือ ภาวะเครียด เป็นการตอบสนองทางร่างกายและจิตใจต่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเป็นปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติ การตอบสนองต่อความเครียดช่วยให้มนุษย์เรารู้จักปรับตัวและรู้สึกตื่นตัว

Goto page arrow icon

สะเก็ดเงิน (Psoriasis) สาเหตุ อาการ การรักษา ติดต่อไหม

สะเก็ดเงิน (Psoriasis) คือ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์ผิวตนเองทำให้เกิดผื่นแดง แห้ง คัน เป็นแผ่นนูนหนา ตกสะเก็ดเป็นสีเงินหรือสีขาวลอกออกเป็นขุยคล้ายรังแคตั้งแต่ศีรษะ

Goto page arrow icon

แผลร้อนใน (แผลในปาก)

แผลร้อนใน เป็นแผลในปาก มีลักษณะเป็นรูปวงกลมหรือวงรี สีขาวหรือออกเหลือง รอบรอยแผลจะแดง มีขนาดเล็ก 1 มม. หรืออาจจะใหญ่ได้ถึง 0.5 - 1 นิ้ว อาจก่อให้เกิดอาการเจ็บและระคายเคืองภายในปากเวลากินอาหาร

Goto page arrow icon

อุปกรณ์บำบัดอาการนอนกรน ขั้นตอนการรักษา ข้อดี

เครื่องมือบำบัดอาการนอนกรนในช่องปาก (Anti-snoring appliances) คือ อุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ถูกออกแบบเป็นพิเศษเฉพาะบุคคลเพื่อรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ผ่านการออกแบบโดยทันตแพทย์

Goto page arrow icon

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือ โรคโลหิตจางทางพันธุกรรมที่เกิดจากการความบกพร่องในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในเม็ดเลือดแดง ทำให้ผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง เม็ดเลือด

Goto page arrow icon

หูด ที่พบได้บ่อย

หูดธรรมดา หรือหูดที่พบได้บ่อย (verruca vulgaris) คือ ตุ่มนูนผิวขรุขระและมีจุดเล็กสีดําในเนื้อหูด เกิดขึ้นได้ในร่างกายทุกส่วน แต่ส่วนใหญ่มักขึ้นที่มือและนิ้วมือ สาเหตุหลักของหูดคือการสัมผัสกับเชื้อ

Goto page arrow icon

การตรวจภายใน (Pelvic Exam)

การตรวจภายใน (Pelvic Exam) คือ การตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานของเพศหญิง ซึ่งรวมไปถึงช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก ท่อน้ำไข่ รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก

Goto page arrow icon

หูดหงอนไก่ (Genital warts)

หูดหงอนไก่ (Genital warts) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดที่ทำให้เกิดหูด หรือติ่งเนื้อขรุขระคล้ายหงอนไก่ขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ ขาหนีบ หรือทวารหนัก ทำให้รู้สึกคัน

Goto page arrow icon

กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก (โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก)

กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก หรือ โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก (Bell’s palsy) คือภาวะที่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า 1 ข้าง ทำให้ใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก มีอาการปากเบี้ยวและหลับตาได้ไม่สนิท

Goto page arrow icon

อาการเจ็บคอ หรือ คออักเสบ (Sore throat or Pharyngitis)

อาการเจ็บคอ หรือ คออักเสบ คือการเจ็บ คัน หรือระคายเคืองภายในลำคอ และมักมีอาการมากขึ้นขณะกลืน สาเหตุของการเจ็บคอที่พบได้บ่อยที่สุดคือการติดเชื้อไวรัส (Viral pharyngitis) จากไข้หวัดซึ่งสามารถหายเองได้

Goto page arrow icon

ฝี เรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

การเกิด ฝี หรือตุ่มหนองที่มีการติดเชื้อ พบได้บ่อยในหลายอวัยวะ บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ ปล่อยไว้เดี๋ยวหายเอง จริง ๆ แล้วฝีที่ไม่ได้รักษา อาจทำให้เกิดอันตรายได้

Goto page arrow icon

เริม (Herpes simplex)

เริม (Herpes simplex) คือ โรคติดต่อทางผิวหนังหรือทางเพศสัมพันธ์ผ่านการสัมผัสกับเชื้อไวรัส HSV-1 หรือ HSV-2 ที่ทำให้เกิดเริมที่ปาก หรือเริมที่อวัยวะเพศ สาเหตุของอาการคันยุบยิบ ตุ่มน้ำใส แผลพุพอง

Goto page arrow icon

ออทิสติก (ASD)

ออทิสติก (Autism spectrum disorder: ASD) คือ กลุ่มอาการที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางด้านพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสาร การเข้าสังคม การมีความสนใจซ้ำ หรือมีรูปแบบการกระทำเป็นแบบแผนจำกัดในเรื่องเดิม

Goto page arrow icon

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (Chest CT Scan)

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan เป็นการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายรังสี ซึ่งจะสร้างภาพหลายมิติของอวัยวะภายใน รวมทั้งเส้นเลือด เนื้อเยื่อ และกระดูก ภาพจากการ CT scan จะมีความละเอียดสูงกว่าเอกซเรย์

Goto page arrow icon

โรคเอดส์ (HIV/AIDS)

โรคเอดส์ (AIDS) หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง คือ ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 หรือ T-cells ในระบบภูมิคุ้มกันร่างกายถูกทำลาย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำ

Goto page arrow icon

มดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คือภาวะที่พบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น เกิดจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกรานที่ทำหน้าที่ยึดมดลูกอ่อนแอลงจากวัยหมดระดู หรือได้รับความเสียหายจากการคลอดบุตรตามธรรมชาติหลายครั้ง

Goto page arrow icon

ปวดท้องน้อยเรื้อรังในผู้หญิง (Chronic Pelvic Pain in Women)

ปวดท้องน้อยเรื้อรังในผู้หญิง (Chronic Pelvic Pain in Women) คืออาการปวดที่เกิดขึ้นติดต่อกันนาน 6 เดือน หรือมากกว่านั้น เป็นอาการปวดท้องระดับต่ำกว่าสะดือลงมา ผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังมี 4-16 % ที่รักษาได้

Goto page arrow icon

ผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก (MIS)

การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบรุกล้ำน้อยหรือแผลเล็ก (Minimally Invasive Spine Surgery: MIS) เป็นทางเลือกในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเสียหายน้อย อาการปวดหลังผ่าตัดน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว

Goto page arrow icon

ไทรอยด์เป็นพิษ

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมน triiodothyronine (T3) และ thyroxine (T4) ในเลือดซึ่งเป็นฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้น

Goto page arrow icon

เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ในคนตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน

เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอเกอร์แวง) ในคนตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อนที่กำลังให้นมลูกจะมีภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป ฮอร์โมนทำให้ร่างกายอุ้มน้ำไว้ บริเวณข้อมือและมือทำให้เยื่อหุ้มเอ็นชุ่มน้ำและบวมขึ้น

Goto page arrow icon

ไข้ชิคุนกุนยา

ไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya) เป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ เมื่อติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ซิก้า แต่มีอาการบางอย่างที่แตกต่างกันไปในการช่วยแยกโรคหากสงสัยควรได้รับการตรวจวินิจฉัย

Goto page arrow icon

การเก็บอสุจิโดยตรงจากอัณฑะด้วยวิธี PESA/TESE

การเก็บอสุจิโดยตรงจากอัณฑะด้วยวิธี PESA/TESE เหมาะสำหรับผู้ชายที่มีปัญหาเรื่องการหลั่ง หลังจากเก็บตัวอสุจิได้แล้ว แพทย์จะนำอสุจิไปปฏิสนธิกับไข่ผ่านการทำอิ๊กซี่ (ICSI) หรือการฉีดตัวอสุจิเข้าไปในไข่

Goto page arrow icon

งูสวัด (Herpes zoster) เกิดจากอะไร อาการเริ่มแรก กี่วันหาย

งูสวัด (Herpes zoster/Shingles) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส VZV ที่ซ่อนอยู่ในปมประสาทในผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน โดยเมื่อหายจากโรคอีสุกอีใส ไวรัส VZV จะเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ในปมประสาทรับความรู้สึก

Goto page arrow icon

โรคฮีทสโตรก (โรคลมแดด)

โรคลมแดดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่อาจนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง กระทั่งทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม

Goto page arrow icon

เลือดกำเดาไหล

เลือดกำเดาไหล (Epistaxis/Nosebleeds) คือภาวะที่มีเลือดออกทางโพรงจมูกข้างเดียวหรือทั้งสองข้างเนื่องจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงเยื่อบุโพรงจมูกฉีกขาด โดยมีสาเหตุจากการแคะจมูก หรือการได้รับแรงกระแทกแรง ๆ

Goto page arrow icon

ภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไป (ไฮเปอร์ไทรอยด์)

ไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) เมื่อเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไป จนผลิตและปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์เข้าสู่ร่างกายเกินความจำเป็น ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นจนเกิดอาการผิดปกติ

Goto page arrow icon

ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) โรคอารมณ์สองขั้ว สาเหตุ อาการ การรักษา

ไบโพลาร์ (Bipolar disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว คือความผิดปกติทางจิตเวชที่ทำให้เกิดความแปรปรวนทางอารมณ์ โดยการแสดงออกซึ่งอารมณ์ขั้วตรงข้ามสองแบบสลับไปมา อย่างไม่สามารถควบคุมได้

Goto page arrow icon

ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric surgery) วิธีการลดน้ำหนักประเภทหนึ่งสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่ต่อสู้กับโรคอ้วน หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยใช้วิธีการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

Goto page arrow icon

โรคต้อลม

โรคต้อลมเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน หรือแคลเซียม หรือทั้งหมด ซึ่งจะมีลักษณะเป็นรอยนูนสีเหลืองขนาดเล็กบนเยื่อบุตา โดยส่วนใหญ่จะขึ้นบริเวณหัวตาของตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ต้อลมอาจเป็นวงกลม

Goto page arrow icon

เปลือกตาอักเสบ

เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) เป็นอาการอักเสบเรื้อรังบริเวณเปลือกตา โดยต่อมไขมันบริเวณปลือกตาทั้งสองข้างอุดตันจึงทําให้เกิดการระคายเคือง เปลือกตาอักเสบไม่ใช่โรคติดต่อและไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น

Goto page arrow icon

ครอบฟัน (Dental Crown)

ครอบฟัน (Dental Crown) คือการสร้างวัสดุเสมือนฟันเพื่อครอบลงบนฟัน หรือคลุมรอบซี่ฟันที่ได้รับความเสียหายหรือฟันที่มีรูปทรงที่ไม่สวยงามให้กลับมามีคุณสมบัติของฟันแท้ตามธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน

Goto page arrow icon

ท้องเสีย

ท้องเสีย หรืออุจจาระร่วง คืออาการถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปภายใน 24 ชม. โดยทั่วไปอาการท้องเสียมักเกิดขึ้น และอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน หรือด้วยการทานยาสามัญประจำบ้าน

Goto page arrow icon

ภาวะสายตายาวตามอายุ

เมื่ออายุมากขึ้นเลนส์ตาจะแข็งตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น ไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างและโฟกัสในระยะใกล้ได้ โดยอาการดังกล่าวเรียกว่าภาวะสายตายาวตามอายุ

Goto page arrow icon

โรคมะเร็งสมอง

โรคมะเร็งสมองเกิดจากเซลล์ในสมองเกิดการกลายพันธุ์อาจทำให้เกิดเนื้องอกแบบที่เป็นและไม่เป็นมะเร็งได้ โดยการที่เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งนั้นจะเติบโตช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอก

Goto page arrow icon

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ เป็นการประเมินปริมาณและคุณภาพของตัวอสุจิ มักทำเพื่อตรวจสอบภาวะเจริญพันธุ์และหลังการทำหมันชาย ซึ่งใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจตัวอย่างน้ำเชื้อเพื่อดูการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ

Goto page arrow icon

สมาธิสั้นในเด็ก (ADHD in children: Attention-deficit / Hyperactivity disorder)

สมาธิสั้นในเด็ก (ADHD in children: Attention-deficit / Hyperactivity disorder) คือโรคที่สามารถพบได้ทั่วไปในเด็ก โดยเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีอาการขาดสมาธิ ซุกซนผิดปกติ อยู่ไม่นิ่ง หรือหุนหันพลันแล่น

Goto page arrow icon

เลือดออกในสมอง

เลือดออกในสมอง คือภาวะที่หลอดเลือดในสมองแตกทำให้เลือดไหลออกไปกดเนื้อเยื่อสมองทำให้สมองขาดออกซิเจนจนไม่สามารถทำหน้าที่ของสมองส่วนนั้นได้

Goto page arrow icon

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)

ระบบน้ำเหลืองผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า lymphocytes ซึ่งจะต่อสู้กับเชื้อโรคและป้องกันเราจากโรคและการติดเชื้อ  เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเกิดการกลายพันธุ์และนําไปสู่โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

Goto page arrow icon

โรคมือ เท้า ปาก (HFMD)

มือเท้าปาก (HFMD) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human enteroviruses ผ่านการสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก ตุ่มน้ำใส หรือผื่นบริเวณผิวหนังของผู้ที่เป็นโรค พบได้บ่อยในเด็กทารก เด็กเล็ก หรือเด็กในวัยรียน

Goto page arrow icon

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชาย Common Male Sexual Problems

ความผิดปกติทางเพศสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ชายทุกวัย แต่พบได้บ่อยในผู้ชายที่มีอายุ ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับความผิดปกติทางเพศ ได้แก่ ความผิดปกติของการหลั่ง การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

Goto page arrow icon

นิ่วในไต

ก้อนนิ่วในไตเกิดขึ้นเมื่อในปัสสาวะมีสาร เช่น แคลเซียม ออกซาเลต ซีสตีน หรือกรดยูริคอยู่ในระดับที่สูง หรือเมื่อดื่มน้ำน้อยเกินไป ผลึกเล็ก ๆ จากสารเหล่านั้นก่อตัวและโตอยู่ข้างในไต

Goto page arrow icon

ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย Low-dose CT scan

Low-dose CT scan (LDCT Scan) เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยปริมาณรังสีต่ำ ต่างจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐานทั่วไปตรงที่มีการใช้รังสีในปริมาณที่น้อยกว่ามาก

Goto page arrow icon

มะเร็งปอด

มะเร็งปอดเกิดจากการแบ่งตัวแบบผิดปกติของเซลล์ภายในปอดอย่างไม่สามารถควบคุมได้ เซลล์ที่เสียหายเกิดการกลายพันธุ์ (Mutation) พัฒนาเป็นมวลหรือก้อนเนื้อร้ายที่ไปขัดขวางกระบวนการการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ

Goto page arrow icon

ฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม ประสิทธิภาพสูง

การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม ประสิทธิภาพสูง (Hemodialysis) คือ หนึ่งใน วิธีการรักษาโรคไตวาย (Kidney failure) หรือ โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) โดยการขจัดของเสียในเลือดและของเหลวส่วนเกินออก

Goto page arrow icon

การทําเด็กหลอดแก้ว (IVF - In Vitro Fertilization)

การทําเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF คือเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology: ART) โดยนำสเปิร์มและไข่ออกมาทำการปฏิสนธิในห้องแล็ป ตามด้วยการฝังตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์

Goto page arrow icon

การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นให้ความสำคัญกับการควบคุมการอักเสบเพื่อลดความเสียหายของและเพิ่มความสามารถในการทํางานข้อต่อ รวมทั้งรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

Goto page arrow icon

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดปกติ เนื่องจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่นหรือใจเต้นรัว ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทไม่เป็นอันตราย แต่บางประเภทอาจก็เป็นอันตรายถึงชีวิต

Goto page arrow icon

ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Uterine Polyps)

ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Uterine Polyps) เกิดจากเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญเติบโตมากเกินไป ติ่งเนื้อมีรูปร่างกลมหรือวงรีมีก้านบาง ๆ หรือฐานกว้างยึดติดอยู่กับเยื่อบุมดลูก โดยอาจมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดงาหรือใหญ่กว่าลูกกอล์ฟ

Goto page arrow icon

ขี้หูอุดตัน (Earwax Impaction)

ขี้หู (cerumen) มีส่วนผสมของสารช่วยหล่อลื่นและต้านเชื้อแบคทีเรีย ร่างกายผลิตขี้หูออกมาเพื่อป้องกันหูของเรา เวลาที่เราขยับกราม ขี้หูเดิมจะเคลื่อนตัวจากด้านในหูสู่ภายนอกและในที่สุดก็จะหลุดออกมาได้เอง

Goto page arrow icon

แก้วหูแตก หรือแก้วหูทะลุ (Ruptured Eardrum)

แก้วหูหรือเยื่อแก้วหูเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ กั้นระหว่างรูหูและหูชั้นกลาง อวัยวะสําคัญสําหรับการได้ยินของมนุษย์และยังทําหน้าที่เป็นเกราะป้องกันน้ำ เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าไปสู่หูชั้นกลาง

Goto page arrow icon

ก้อนที่คอ (Neck mass)

ก้อนที่คอ (Neck mass) หรือก้อนที่บวมขึ้นบริเวณด้านหน้าของลำคอเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป ซึ่งเกิดจากการอักเสบ ติดเชื้อ จนทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ก้อนที่คออาจเป็นเนื้องอกชนิดที่อาจเป็นมะเร็งหรือไม่ใช่มะเร็ง

Goto page arrow icon

โรคหนองใน

โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง  อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีตกขาวผิดปกติออกมาทางช่องคลอดหรือหนองจากอวัยวะเพศชาย หรือมีปัสสาวะแสบขัด วิธีการรักษา

Goto page arrow icon

โรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

โรคลูปัส หรือที่เรียกกันว่า แพ้ภูมิตัวเอง SLE คือ ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเอง การอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคลูปัส หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE สามารถส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่าง

Goto page arrow icon

การตรวจวัดความแข็งของตับ (Liver Elastography)

โรคตับเรื้อรังจะทำให้เนื้อตับถูกทำลายและเกิดพังผืดสะสมในตับ เมื่อมีพังผืดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื้อตับจะมีความแข็ง (stiffness) มากขึ้น หรือมีความยืดหยุ่นลดลง

Goto page arrow icon

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

โรครูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบประเภทหนึ่ง เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของข้อต่อ สามารถเกิดขึ้นได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาการจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นและดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ

Goto page arrow icon

การฝังเข็ม

การฝังเข็มเป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนที่ใช้เข็มในการบรรเทาอาการและความเจ็บปวดตามร่างกาย การฝังเข็มจะทำโดยแพทย์นักฝังเข็ม

Goto page arrow icon

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) เป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาในปัจจุบัน โดยผู้ที่ได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าและไม่ได้รับการป้องกันและรักษาอย่างทันท่วงที มักเสียชีวิตเกือบทุกราย ดังนั้นหากมีการสัมผัสกับสัตว์ที่ต้อง

Goto page arrow icon

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

เป็นโรคที่ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติจากภาวะลิ้นหัวใจระหว่างห้องหัวใจซ้ายล่างและหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้ามีพื้นที่ตัดขวางของลิ้นแคบลง ไม่สามารถเปิดปิดได้อย่างสมบูรณ์

Goto page arrow icon

อาการเจ็บหน้าอก (Chest Pain)

อาการเจ็บหน้าอก อาจเป็นลักษณะปวดหน่วงๆในหน้าอก หรือปวดเสียวแปลบขี้นมา ซึ่งอาจเป็นอยู่นาน 2-3 นาทีถึงหลายชั่วโมง หรือหลายเดือน อาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

Goto page arrow icon

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น จากปริมาณของเลือดที่ไหลเวียนไปยังหัวใจลดลง

Goto page arrow icon

อาการกัดฟัน (นอนกัดฟัน)

อาการที่ผู้ป่วยขบกัดฟันเป็นประจําขณะที่ตื่นนอนอยู่หรือกำลังนอนหลับ ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจทําให้ปวดบริเวณกราม ฟัน และข้อต่อขากรรไกร หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาฟันได้รับความเสียหายได้

Goto page arrow icon

ตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะมีบุตรยาก

การตั้งครรภ์จะสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยการเจริญพันธุ์ของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ในผู้ชายนั้นสเปิร์มหรือตัวอสุจิจะต้องแข็งแรง ผลิตออกมาจำนวนมากพอและหลั่งเข้าไปในช่องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ

Goto page arrow icon

การทำอิ๊กซี่ (ICSI) หรือการฉีดตัวอสุจิเข้าไปในไข่

เป็นวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) วิธีหนึ่ง เป็นการรักษาภาวะมีบุตรยากจากสาเหตุในเพศชาย ทำโดยการฉีดเชื้ออสุจิหนึ่งตัวเข้าไปในไข่หนึ่งฟองในห้องปฏิบัติการเพื่อสร้างตัวอ่อน

Goto page arrow icon

โรคผื่นผิวหนังอักเสบ

ภาวะที่มีการอักเสบของผิวหนัง มักจะมีผื่นแดง ผิวหนังแห้ง ร่วมกับอาการคัน สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่บนร่างกาย รวมทั้งหนังศีรษะ ซึ่งภาวะนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ

Goto page arrow icon

การดูแลครรภ์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2

ความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอาจทําให้เกิดปัญหาทางสุขภาพได้มากมาย

Goto page arrow icon

ปากกาลดน้ำหนักหรือยาฉีดลิรากลูไทด์ (Liraglutide)

ปากกาลดน้ำหนัก หรือยาฉีดลิรากลูไทด์ ช่วยลดความอยากอาหาร มักใช้ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

Goto page arrow icon

หลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นแล้วไม่สดชื่น

ความต้องการนอนหลับของแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานมาจากพันธุกรรม บางคนต้องนอนเยอะ บางคนนอนน้อยก็เพียงพอ

Goto page arrow icon

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG)

เป็นการตรวจคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจที่รวดเร็ว ไม่เจ็บ และไม่รุกล้ำเข้าไปในร่างกาย โดยการติดแผ่นขั้วไฟฟ้าหรือเซนเซอร์ที่บริเวณหน้าอก แขน และขา

Goto page arrow icon

โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว

โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว หรือโรคเยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายเกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ

Goto page arrow icon

ภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) คือการที่คู่สามีภรรยาไม่มีบุตรแม้พยายามที่จะมีบุตร ในทางสถิติร้อยละ 70 ของคู่สามีภรรยาโดยทั่วไปที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ จะตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือนแรก

Goto page arrow icon

ภาวะวุ้นตาเสื่อม

มองเห็นเงาตะกอนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น อาจเป็นสัญญาณโรคแทรกซ้อนจากภาวะวุ้นตาเสื่อม

Goto page arrow icon

อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกเฉียบพลันอาจเป็นผลมาจากการได้รับบาดเจ็บอย่างฉับพลัน

Goto page arrow icon

Holter monitor เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง

อุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาและสวมใส่ได้เพื่อบันทึกการเต้นของหัวใจและตรวจหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ

Goto page arrow icon

โรคตากุ้งยิง

ตากุ้งยิงเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการอักเสบของต่อมไขมันหรือต่อมเหงื่อบริเวณเปลือกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยมีประวัติต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน

Goto page arrow icon

รักษาอาการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า (ACL Injury)

เมื่อเอ็นไขว้หน้าได้รับบาดเจ็บเฉียบพลัน เส้นเอ็นบางส่วนหรือทั้งหมดอาจฉีกขาด เส้นเอ็นเส้นอื่นและอวัยวะอื่น ๆ เช่น หมอนรองเข่า เยื่อหุ้มข้อเข่า กระดูกอ่อนผิวข้อ

Goto page arrow icon

ต้อเนื้อ (Pterygium)

ต้อเนื้อ (Pterygium) เกิดจากความผิดปกติของเยื่อเมือกบุตา มีรูปร่างคล้ายรูปสามเหลี่ยม ต้อเนื้ออาจเริ่มโตขึ้นจากที่บริเวณหัวตาหรือหางตาก็ได้ พบบริเวณหัวตามากกว่า ต้อเนื้อสามารถเกิดขึ้นได้ในตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง

Goto page arrow icon

ท่อน้ำตาอุดตัน

ภาวะท่อน้ำตาอุดตันเกิดจากการที่ระบบระบายน้ำตาอุดตันแค่บางส่วนหรือทั้งหมด จนน้ำตาไม่สามารถระบายออกได้ตามธรรมชาติ

Goto page arrow icon

ภาวะปัสสาวะบ่อย

ภาวะที่มีการปัสสาวะมากกว่า 4 - 8 ครั้งในหนึ่งวัน ซึ่งเป็นอาการปกติจากการตั้งครรภ์หรืออาจเกิดจากปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกายที่ร้ายแรงกว่า

Goto page arrow icon

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ผู้ป่วยราว 60-75% นั้นเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันโดยมีสาเหตุมาจากนิ่วในถุงน้ำดีและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป

Goto page arrow icon

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ

เกิดขึ้นเมื่อเยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ด้านในเกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บ การติดเชื้อ หรือภาวะผิดปกติทางภูมิต้านทาน

Goto page arrow icon

การส่องกล้องผ่าตัดช่องท้อง

เป็นการผ่าตัดช่องท้องแผลเล็กผ่านกล้องที่นิยมทำในการผ่าตัดทั่วไป เนื่องจากมีความคุ้มค่า ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว และผลการรักษาน่าพึงพอใจ

Goto page arrow icon

โรคไส้เลื่อน (Hernia)

การมีเนื้อเยื่อบริเวณหน้าท้องหรือขาหนีบที่ไม่แข็งแรง จนส่วนหนึ่งของลําไส้หรือเนื้อเยื่อไขมันในช่องท้องสามารถยื่นดันผ่านบริเวณที่ไม่แข็งแรงเพียงพอออกมาได้

Goto page arrow icon

ปวดคอ

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการปวดคอได้แก่ ข้ออักเสบ เส้นประสาทที่ถูกกดทับ กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นเคล็ด ซึ่งส่วนใหญ่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด

Goto page arrow icon

การตรวจสุขภาพตา มีกี่ประเภท

การตรวจสุขภาพตา เป็นการตรวจวินิจฉัยที่ใช้วิธีการตรวจดวงตาหลาย ๆ อย่าง ยิ่งตรวจพบความผิดปกติได้รวดเร็วเท่าไร ก็จะทำให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้นเท่านั้น

Goto page arrow icon

เซลล์มะเร็งต่างจากเซลล์ปกติอย่างไร

มะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของเซลล์ที่ผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมได้ โดยอาจกระจายลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้

Goto page arrow icon

โรคหัวใจโตคืออะไร

ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือยืดออกจนหัวใจมีขนาดโตผิดปกติ สูบฉีดเลือดได้ลำบากขึ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวร โรคหัวใจโตสามารถควบคุมดูแลได้

Goto page arrow icon

กรวยไตอักเสบ

ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ มักเริ่มต้นจากการอักเสบในกระเพาะปัสสาวะแล้วแพร่กระจายไปที่ไต

Goto page arrow icon

การตรวจสุขภาพประจําปี

เป็นวิธีป้องกันและดูแลสุขภาพเชิงรุกเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ช่วยให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับสภาพร่างกายของเราในปัจจุบัน

Goto page arrow icon

ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)

ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) คือภาวะที่หญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดใหม่ ๆ เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ร่วมกับความผิดปกติของอวัยวะ

Goto page arrow icon

ภาวะชักจากไข้

แม้ภาวะชักจากไข้จะดูรุนแรงแต่ภาวะดังกล่าวไม่ส่งผลเสียต่อระดับสติปัญญาและการทำงานของสมองหากอาการชักเกิดขึ้นและจบลงในเวลาสั้น ๆ

Goto page arrow icon

เส้นเลือดขอด (Varicose veins)

เส้นเลือดขอดและภาวะหลอดเลือดฝอยขดคล้ายเส้นใยแมงมุมเป็นลักษณะของเส้นเลือดขอดที่ไม่รุนแรง ไม่นับเป็นโรคแต่เป็นเรื่องของความสวยความงาม

Goto page arrow icon

โรคเหงือกอักเสบ

โรคในช่องปากที่พบได้บ่อยและอาการไม่รุนแรง เหงือกจะบวม แดง รู้สึกเจ็บระคายเคือง ควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด

Goto page arrow icon

โรคไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C)

ประชากรทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีประมาณ 3% ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคตับอักเสบซีมักจะไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ เพราะผู้ป่วยในระยะแรกของโรคมักจะไม่มีอาการ

Goto page arrow icon

เนื้องอกมดลูก (Uterine fibroids)

เนื้องอกมดลูก คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง พบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เนื้องอกอาจมีเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อนได้พร้อมกัน

Goto page arrow icon

เด็กเรียนออนไลน์เสี่ยงสายตาสั้น

ความจำเป็นที่จะต้องเว้นระยะห่างทางสังคมส่งผลให้วิถีชีวิตของเด็กในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป อย่างหนึ่งก็คือการต้องนั่งเรียนออนไลน์ทั้งวัน

Goto page arrow icon

ทำอย่างไร ไม่ให้เป็นมะเร็ง

นอกจากการตรวจคัดกรองที่ควรทำทุกปีแล้ว ยังมีสิ่ง ๆ ต่างที่เราสามารถทำเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน

Goto page arrow icon

ปวดหัวเรื้อรัง ปวดหัวบ่อย (Chronic Headache)

สัญญาณอันตรายของอาการปวดศีรษะ และปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดศีรษะ ที่อาจมีผลความผิดปกติในสมอง

Goto page arrow icon

ไขมันในเลือดสูง ไขมันในเลือดแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร

ภัยเงียบที่นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ โรคไขมันในเลือดสูงจะไม่แสดงอาการอะไร จะทราบก็ต่อเมื่อเจาะเลือดตรวจหาระดับไขมันแต่ละชนิด

Goto page arrow icon

ตรวจสุขภาพตา ใครบ้างที่ควรตรวจ มีวิธีเตรียมตัวอย่างไร

เราตรวจสุขภาพตาเพื่อตรวจสอบการมองเห็นและมองหาสัญญาณความผิดปกติของดวงตา ยิ่งตรวจพบความผิดปกติได้รวดเร็วเท่าไร ก็จะทำให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้นเท่านั้น

Goto page arrow icon

ปวดหลังส่วนล่างในผู้ใหญ่

อาการปวดหลังล่างนั้นน่ารำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจําวันของคนเรา คนจำนวนกว่า 80% มักเคยปวดหลังล่างมาอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต

Goto page arrow icon

จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (AMD)

จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (AMD) โรคทางจักษุวิทยาที่พบได้บ่อย โดยเป็นสาเหตุที่สำคัญของการสูญเสียการมองเห็น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท

Goto page arrow icon

วิธีการรักษามะเร็งเต้านม (Breast Cancer Treatment)

การรักษาโดยการผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ซึ่งมีประโยชน์ในการควบคุมโรคและสามารถนำชิ้นเนื้อที่ได้จาการผ่าตัดไปตรวจทางพยาธิวิทยา ทำให้ทราบระยะที่แท้จริงของโรค

Goto page arrow icon

ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

ภาวะที่มดลูกมีการหดรัดตัวสม่ำเสมอ ส่งผลให้ปากมดลูกเปิดและคลอดหลังสัปดาห์ที่ 20 และก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์

Goto page arrow icon

โรคคอตีบ

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Corynebacterium diphtheriae ซึ่งเชื้อนี้สามารถติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และสารคัดหลั่งทางระบบทางเดินหายใจได้

Goto page arrow icon

ภาวะกระดูกสันหลังคดในเด็กและวัยรุ่น

ภาวะที่กระดูกสันหลังมีการคดเอียงออกทางด้านข้างตั้งแต่ 10 องศาขึ้นไป มักพบมากในช่วงวัยรุ่น และเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักไม่มีอาการ

Goto page arrow icon

โรคกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท

เกิดจากการเสื่อมสภาพชำรุดเสียหายของหมอนรองกระดูกต้นคอกดเบียดเส้นประสาทไขสันหลัง โดยปกติโรคนี้มักสัมพันธ์กับช่วงอายุที่มากขึ้น โดยจะพบมากที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 40 - 50 ปี

Goto page arrow icon

ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน

ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน คืออาการที่โพรงจมูกบวมและติดเชื้อ ขัดขวางการระบายน้ำมูกและทำให้น้ำมูกคั่งค้าง ผู้ป่วยอาจหายใจผ่านจมูกได้ไม่สะดวก ติดขัด มีอาการปวดศีรษะหรือปวดตุบ ๆ บนใบหน้า บวมรอบดวงตา

Goto page arrow icon

รักษาต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากโดยไม่มีแผลผ่าตัด

เทคนิคที่ใหม่กว่าโดยไม่ต้องตัดเนื้อต่อมลูกหมาก ใช้การผ่าตัดผ่านการส่องกล้องโดยใช้แสงเลเซอร์สีเขียวเข้าไป ทำให้เนื้อต่อมลูกหมากส่วนที่ขวางทางเดินปัสสาวะระเหิดเป็นไอ

Goto page arrow icon

ROSA การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด แค่ตามกระแสหรือการผ่าตัดแห่งอนาคต

ROSA เทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้ตรงตามที่วางแผนไว้ทุกครั้งคือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ระบบจะประมวลผลภาพเอ็กซ์เรย์ของข้อเข่า

Goto page arrow icon

ตาแห้ง

อาการตาแห้งเกิดจากการที่ดวงตาผลิตน้ำตาหรือสารหล่อลื่นดวงตาไม่มากพอที่จะคงความชุ่มชื้นของดวงตา สาเหตุที่ดวงตาผลิตน้ำตาลดลงนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจทำให้ผิวของดวงตาเสียหายหรือติดเชื้อได้

Goto page arrow icon

โรควิตกกังวลทั่วไป

ในผู้ที่เป็น “โรควิตกกังวล” ภาวะความกังวลยังคงอยู่ต่อเนื่องถึงแม้จะผ่านพ้นเหตุการณ์นั้นไปแล้วก็ตาม  ถ้ามีความเครียดเกิน 6 เดือนถือเป็นโรคเรื้อรังทางจิตเวช

Goto page arrow icon

โรครองช้ำ

โรครองช้ำ หรือพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เป็นหนึ่งในโรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่พบได้บ่อย มักเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของพังผืดใต้ฝ่าเท้า พังผืดใต้ฝ่าเท้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างปกติของเท้า

Goto page arrow icon

ภาวะหัวใจสลาย (กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงเฉียบพลัน)

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงเฉียบพลัน สัมพันธ์กับภาวะเครียดอย่างรุนแรง บางครั้งเรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด (Stress Cardiomyopathy)

Goto page arrow icon

โรคเกาต์

โรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยเกิดขึ้นได้ในทุกเพศและทุกวัย ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการปวดที่เกิดขึ้นเร็ว บวมแดง และแสบร้อนข้อต่อในร่างกาย

Goto page arrow icon

ภาวะรังไข่หยุดทำงาน

ผู้หญิงบางคนอาจเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าคนทั่วไป แพทย์จะเรียกกลุ่มผู้หญิงที่หมดประจำเดือนระหว่างอายุ 40 ถึง 45 ปีว่ากลุ่มที่ "หมดประจำเดือนเร็ว"

Goto page arrow icon

โรคตื่นตระหนก แพนิค (Panic Disorder)

อาการตื่นตระหนก แพนิค (Panic Disorder) สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกสูญเสียการควบคุม รู้สึกหัวใจจะวายหรือในบางครั้งรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะเสียชีวิต

Goto page arrow icon

ปวดไหล่ ยกไหล่ไม่ขึ้น (Frozen Shoulders with pain and stiffness)

อาการปวดไหล่หรือยกไหล่และแขนไม่ขึ้น พบมากในผู้สูงอายุและเกิดได้ง่ายแม้ไม่มีประวัติออกกำลังกายอะไร แค่เพียงใช้แขนผิดท่าก็อาจเจ็บได้

Goto page arrow icon

ฝีคัณฑสูตร

ภายในทวารหนักจะมีต่อมเล็ก ๆ จำนวนมากที่สร้างเมือกและในบางครั้งต่อมเหล่านี้เกิดการอุดตันและอาจติดเชื้อจนทำให้เกิดเป็นฝี ครึ่งหนึ่งของฝีเหล่านี้อาจกลายเป็นฝีคัณฑสูตร

Goto page arrow icon

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease: PID)

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อคลาไมเดียและเชื้อหนองในซึ่งขึ้นไปจากช่องคลอด ผ่านปากมดลูกขึ้นไปในมดลูก

Goto page arrow icon

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นเกิดขึ้นและรักษาได้ ภาวะดังกล่าวไม่ใช่ความอ่อนแอหรือข้อบกพร่องแต่อย่างใด

Goto page arrow icon

ภาวะอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)

ภาวะอาหารเป็นพิษ (Food poisoning) เป็นโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย (หรือสารพิษของเชื้อแบคทีเรีย) ไวรัส หรือเชื้อปรสิต

Goto page arrow icon

โรคระบบทางเดินอาหาร

โรคระบบทางเดินอาหารส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้ได้ผลการรักษาที่น่าพึงพอใจ

Goto page arrow icon

โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus Infection) อาการ การติดต่อ การรักษา

โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบบีนั้นมีการติดต่อผ่านทางเลือด และการติดต่อจากแม่สู่ลูกซึ่งเป็นทางติดต่อที่พบมากที่สุด

Goto page arrow icon

ไอกรน ภัยเงียบที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย

ไอกรนเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อเเบคทีเรีย เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือมีน้ำมูก ก็จะสามารถเเพร่เชื้อต่อไปยังคนอื่นๆ ได้

Goto page arrow icon

เมลาโทนิน (Melatonin)

ในเวลากลางคืนเมลาโทนินจะถูกผลิตออกมาเพื่อช่วยเริ่มต้นการนอนหลับ และลดลงเมื่อนอนหลับ

Goto page arrow icon

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ เกิดจากการที่เซลล์มะเร็งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วที่รังไข่ (ซึ่งเป็นหนึ่งในอวัยวะระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ทำหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง อยู่ใต้ปีกมดลูกทั้ง 2 ด้าน)

Goto page arrow icon

เล็บขบ (Ingrown toenail)

ควรเข้ารับการรักษาหากมีอาการระคายเคือง เจ็บ บริเวณเล็บนิ้วเท้า มีหนอง หรือเกิดการกระจายตัวของภาวะผิวหนังอักเสบ

Goto page arrow icon

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้การทำงานของสารสื่อประสาทบริเวณช่องว่างระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อบกพร่อง

Goto page arrow icon

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ติดต่อจากสัตว์ขนาดเล็กในกลุ่มเลี้ยงลูกด้วยนมที่มาจากทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะในสัตว์ฟันแทะ กระรอก และลิง

Goto page arrow icon

ภาวะเต้านมอักเสบ (Mastitis)

ภาวะเต้านมอักเสบมักเกิดกับเพศหญิงในช่วงให้นมบุตร (เต้านมอักเสบจากการให้นมบุตร) แต่อาจเกิดในช่วงที่ไม่ได้ให้นมบุตร และยังอาจเกิดกับเพศชายได้ด้วย

Goto page arrow icon

ภาวะลองโควิด (Long COVID)

ภาวะที่ผู้ติดเชื้อโควิดยังมีอาการหลัง 3 เดือนนับจากวันตรวจพบการติดเชื้อไวรัส  โดยมีอาการต่อเนื่องนานตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป และไม่สามารถอธิบายอาการว่ามาจากโรคอื่นที่ตรวจวินิจฉัยได้

Goto page arrow icon

ภาวะถุงน้ำรังไข่ ซีสต์รังไข่ หรือก้อนของรังไข่ (Ovarian cysts and ovarian mass)

ซีสต์หรือถุงน้ำรังไข่เป็นคำเรียกทั่วไป หมายถึง ถุงที่มีสารน้ำหรือของเหลวอยู่ภายใน โดยอาจพบบนผิวหรือด้านในของรังไข่

Goto page arrow icon

ไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ คือโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ รวมถึงจมูก ลําคอ และปอด ไข้หวัดใหญ่สามารถหายได้เอง แต่บางครั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ถึงแก่ชีวิต

Goto page arrow icon

หวัดหรือภูมิแพ้กันแน่...

อาการดังกล่าวอาจจะไม่ได้เกิดจากการเป็นหวัดเพียงอย่างเดียว สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เด็กมีอาการดังกล่าวและพบได้บ่อย ได้แก่ โรคแพ้อากาศ และโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว

Goto page arrow icon

ศัลยกรรมเปลือกตา

เมื่ออายุมากขึ้นหนังตาชั้นบนจะเริ่มหย่อน กล้ามเนื้อหนังตาไม่แข็งแรง ไขมันส่วนเกินจึงสะสมอยู่ในบริเวณเปลือกตาและใต้ตา ทำให้คิ้วตก หนังตาตก และมีถุงใต้ตา

Goto page arrow icon

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย

ผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียมีปัจจัยหลายอย่างชักนำให้ระบบประสาทส่วนกลางทั้งสมองและไขสันหลัง มีความไวต่อความปวดมากกว่าปกติ

Goto page arrow icon

ติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia)

ติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) คือภาวะที่เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าปกติจนอวัยวะสําคัญ ๆ เริ่มทํางานผิดปกติ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอาจรุนแรงมากขึ้นจนเกิดภาวะช็อก ความดันโลหิตต่ำลงอย่างรวดเร็ว

Goto page arrow icon

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc)

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท (Herniated disc) เกิดขึ้นได้กับกระดูกสันหลังทุกระดับ แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณหลังส่วนล่างอาจมีอาการต่าง ๆ

Goto page arrow icon

นิ้วล็อคและวิธีการรักษาใช้เข็มสะกิดโดยการมองภาพผ่านเครื่องอัลตราซาวนด์

ภาวะที่มีการสะดุดหรือล็อคของนิ้วเวลางอหรือเหยียดนิ้ว มักมีอาการเจ็บร่วมด้วย

Goto page arrow icon

โรคหอบหืด (Asthma)

การหายใจติดขัดมีเสียงหวีด ไอ หายใจไม่ทัน มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และอาการอาจหายได้เมื่อโตขึ้น หรืออาจกลับมาเป็นอีกได้ ในบางรายอาจเริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่อเวลาเป็นผู้ใหญ่

Goto page arrow icon

โรคทางต่อมไทรอยด์ (Thyroid disease)

ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่ทำหน้าที่รักษาระดับเมตาบอลิสมของร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต อุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และน้ำหนัก

Goto page arrow icon

ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)

ต่อมทอนซิลอักเสบ มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่การติดเชื้อแบคทีเรียก็อาจทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบได้เช่นกัน

Goto page arrow icon

ประสาทหูเสื่อมตามอายุ

เริ่มจากมีอาการสูญเสียการได้ยินแบบน้อย ๆ 2 ข้างเท่า ๆ กันและไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย จนค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจใช้เวลานานหลายปี

Goto page arrow icon

เมษา...พาผิวแพ้

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักมีการกำเริบของโรคในช่วงที่อากาศร้อนอบอ้าวแบบนี้ ฉะนั้นเรามาทำความรู้จักโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดการกำเริบของโรคไปพร้อม ๆ กัน

Goto page arrow icon

โรคใหลตาย (Brugada syndrome)

โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโรคที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าภาคอื่น ๆ รองลงมาเป็นภาคเหนือ

Goto page arrow icon

การรักษาต้อกระจกและเลนส์แก้วตาเทียมเฉพาะคนด้วยเทคโนโลยี

การรักษาต้อกระจกและเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมใหม่สามารถทำให้แก้ปัญหาเรื่องการใส่แว่นและทำให้คุณภาพของการมองเห็นดีขึ้น ช่วยให้กลับไปมีความสุขในการใช้สายตามากกว่าเดิม

Goto page arrow icon

ภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร (Aphasia)

ภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร โดยมีพยาธิสภาพในสมองบริเวณที่ควบคุมเรื่องภาษา ซึ่งอาการแตกต่างกันไปตามแต่ละรูปแบบที่ผิดปกติ

Goto page arrow icon

มะเร็งเม็ดเลือดขาว ลูคีเมีย (Leukemia)

มะเร็งเม็ดเลือดขาว ลูคีเมีย (Leukemia) คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดในไขกระดูกหรือเซลล์ต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีหลายประเภท บางชนิดมักเกิดขึ้นในเด็กในขณะที่บางชนิดมักเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่

Goto page arrow icon

โรคตับแข็ง

เมื่อเกิดการอักเสบเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน ตับจะทำการซ่อมแซมตัวเอง กระบวนการซ่อมแซมจะสร้างเนื้อเยื่อพังผืดสะสมจนเกิดเป็นโรคตับแข็ง

Goto page arrow icon

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

หากคุณมีอาการนอนหลับได้ยากและหลับไม่ต่อเนื่องตลอดทั้งคืน หรือตื่นนอนตอนเช้าเร็วเกินไปและหลับต่อไม่ได้ คุณอาจจะประสบกับภาวะโรคนอนไม่หลับ เมื่อตื่นนอนอาจรู้สึกสมองร่างกายไม่สดชื่น การขาดการพักผ่อน

Goto page arrow icon

โรคซึมเศร้า (Depression)

ภาวะซึมเศร้าไม่ใช่ความรู้สึกไม่สบายกายหรือไม่สบายใจที่สามารถสลัดออกไปได้ง่าย ๆ ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

Goto page arrow icon

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี

การรักษาโรคมะเร็งนั้นทำได้หลายวิธี เช่น การฉายรังสี การผ่าตัด การให้ยามุ่งเป้า เคมีบำบัดและการรักษาด้วยฮอร์โมน แพทย์จะเป็นผู้ประเมินการรักษาที่เหมาะสม โดยอาจจะให้การรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

Goto page arrow icon

กระดูกสันหลังหักยุบตัวจากภาวะกระดูกพรุน

ภาวะกระดูกสันหลังหักยุบตัวจากภาวะกระดูกพรุนนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาเร่งด่วน ที่ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที

Goto page arrow icon

โรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน (Strabismus)

เป็นโรคที่ตา 2 ข้างไม่มองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ตาเขออก ตาเขเข้า ตาเขขึ้น หรือ ตาเขลง เกิดจากความผิดปกติของสมอง เส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อตาที่ควบคุมการกลอกตา สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย

Goto page arrow icon

โรคสายตาขี้เกียจ Lazy Eye (Amblyopia)

คือภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการของการมองเห็น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง

Goto page arrow icon

ธาราบำบัด หรือ วารีบำบัด

การฟื้นฟูร่างกายที่อาศัยคุณสมบัติการพยุงและแรงต้านของน้ำในการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายในน้ำอุ่นประมาณ 34 - 35 องศาเซลเซียส โดยมีนักกายภาพบำบัดให้การบำบัด

Goto page arrow icon

โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids)

โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) คือ อาการที่เส้นเลือดบริเวณทวารหนักและลำไส้ตรงส่วนล่างจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เหมือนเส้นเลือดขอด ผู้ใหญ่ราว 3 ใน 4 คนมักเคยเป็นโรคริดสีดวงทวารครั้งหนึ่งในชีวิต สาเหตุของโรคมีได้หลายสาเหตุ

Goto page arrow icon

โรคตาแดง Pink eye (Conjunctivitis)

โรคตาแดง เป็นโรคติดเชื้อที่เยื่อบุตาซึ่งเป็นเยื่อเมือกใสคลุมผิวลูกตาและด้านในของเปลือกตา เมื่อเยื่อบุตาติดเชื้อ หลอดเลือดจะขยายตัวชัดขึ้น ทำให้ดวงตามีสีชมพูหรือออกแดง

Goto page arrow icon

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ว่าวิธีการใด ถือเป็นวิธีที่ช่วยในการคัดกรองและทำให้สามารถตรวจเจอมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ดีและเร็วที่สุด

Goto page arrow icon

ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) อาการ สาเหตุ การรักษา

อาการเจ็บปวดมักเกิดขึ้นตรงบริเวณด้านขวาล่างของช่องท้อง โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักรู้สึกเริ่มปวดบริเวณลิ้นปี่หรือรอบ ๆ สะดือ

Goto page arrow icon

การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า

การตรวจพิเศษทางไฟฟ้านี้สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมจากประวัติและการตรวจร่างกาย และเป็นการตรวจที่จำเป็นต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะสามารถให้ผลการตรวจที่ถูกต้องแม่นยำ

Goto page arrow icon

การคัดกรองและป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่กว่าครึ่งมักได้รับการวินิจฉัยในระยะท้าย ๆ ของโรค เนื่องจากอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะเกิดขึ้นเมื่อมะเร็งมีขนาดใหญ่แล้ว

Goto page arrow icon

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy)

เบาหวานขึ้นตา หรือ โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic Retinopathy) เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดขนาดเล็กที่นำเลือดมาเลี้ยงที่จอประสาทตา

Goto page arrow icon

ภาวะหัวกระดูกสะโพกตายจากการขาดเลือด

เมื่อเกิดภาวะหัวกระดูกสะโพกขาดเลือดเกิดขึ้น ทำให้กระดูกบริเวณหัวสะโพกตาย จากกระดูกแข็ง ๆ จะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นกระดูกนิ่ม ๆ เมื่อรับน้ำหนักจึงเกิดการยุบตัวของหัวกระดูกสะโพกขึ้น

Goto page arrow icon

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ UKA

ปัจจุบันเมื่อมีการศึกษาพบว่า ข้อเข่าเสื่อมโดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มที่ฝั่งครึ่งข้อทางด้านในก่อน เมื่อเป็นมากขึ้นจึงเกิดความเสื่อมไปยังอีก 2 ส่วน จึงเกิดแนวคิดที่จะผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเพียงบางส่วนเฉพาะจุด

Goto page arrow icon

กระดูกสะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุ

ภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ถือเป็นภาวะเร่งด่วนในการรักษา และอาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันการ

Goto page arrow icon

การตรวจหลอดเลือดสมองและคอ ด้วยเครื่องเอกซเรย์ (Cerebral angiogram)

Cerebral angiogram คือการตรวจหลอดเลือดสมองและคอด้วยเครื่องเอกซเรย์ โดยขณะทำหัตถการแพทย์จะใส่สายหรือท่อเล็กๆ เข้าไปในหลอดเลือดแดงและฉีดสาร ทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองและบริเวณคอพร้อม ๆ

Goto page arrow icon

โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger)

โรคนิ้วล็อค หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Trigger finger เป็นภาวะที่เกิดจากความไม่สมดุลกันของขนาดเส้นเอ็นในการงอนิ้วมือ กับตัวปลอกเส้นเอ็นเอง กล่าวคือในภาวะปกติขณะที่เราทำการงอ เหยียดนิ้วมือนั้น

Goto page arrow icon

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองวิธี Mechanical thrombectomy

Mechanical thrombectomy คือ การรักษาภาวะหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองอุดตันเฉียบพลันด้วยเครื่องเอกซเรย์ โดยขณะทำหัตถการแพทย์จะใส่สายหรือท่อเล็กๆเข้าไปในหลอดเลือดแดงและฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดแดงสมอง

Goto page arrow icon

รักษาลิ้นหัวใจตีบขั้นรุนแรงโดยเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม

การรักษาด้วยวิธีเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรักษาโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบขั้นรุนแรงโดยเฉพาะ ด้วยข้อมูลจากการศึกษาทดลองมาเป็นระยะเวลายาวนาน

Goto page arrow icon

โรคไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกัน

โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาการเบื้องต้นมักจะคล้ายเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่จะค่อยๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมา

Goto page arrow icon

ตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายและความหนาแน่นของกระดูก

เครื่องตรวจวิเคราะห์ความหนาแน่นของกระดูก รวมถึงโครงสร้างหรือคุณภาพภายในกระดูก เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน และความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกหักอันเนื่องมาจากภาวะกระดูกพรุนในระยะเวลา 10

Goto page arrow icon

คำแนะนำการฝากครรภ์ (Prenatal Instructions)

การฝากครรภ์ คือการดูแลครรภ์ของคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยแพทย์จะดูแลและตรวจครรภ์ตามระยะ เพื่อเฝ้าระวังและติดตามความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ แพทย์จะให้ความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตนของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์

Goto page arrow icon

โรคปอดบวม ปอดอักเสบ

โรคปอดบวม ปอดอักเสบ คือ ภาวะติดเชื้อในปอด ซึ่งอาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ทั้งนี้ เนื่องจากในถุงลมปอดอาจมีของเหลวหรือหนองคั่งสะสม มีเสมหะสีเขียวเหลือง มีไข้หนาวสั่น และหายใจลำบากร่วมด้วย

Goto page arrow icon

วัณโรคปอด

วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งโดยมากแล้วจะมีผลต่อปอด หรือที่เรียกว่า "วัณโรคปอด" ทั้งนี้ วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อและสามารถแพร่สู่คนผ่านละอองฝอยจากการไอและจามได้

Goto page arrow icon

การทำรากฟันเทียม (Dental Implant)

การใส่รากฟันเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุด จุดประสงค์ของการทำฟันแบบรากเทียม คือการรักษาโดยการใส่รากฟันเทียมเพื่อแทนที่ฟันธรรมชาติที่เกิดปัญหาอันเนื่องจากฟันผุ โรคเหงือกหรืออุบัติเหตุ เป็นต้น

Goto page arrow icon

โรคหัดเยอรมัน (Rubella)

โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยคนส่วนใหญ่จะแสดงอาการเพียงเล็กน้อยหรือบางรายจะไม่แสดงอาการของโรคเลย โรคหัดเยอรมันยังสามารถส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงต่อทารกในครรภ์

Goto page arrow icon

โรคงูสวัด ไวรัสตัวร้ายกับผู้สูงอายุ

โรคงูสวัดเป็นโรคที่มาจากไวรัส พัฒนามาจากโรคอีสุกอีใส สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคจะเพิ่มมากขึ้นในผู้สูงอายุ การมีอายุที่มากยังจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัดอีกด้วย

Goto page arrow icon

ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of the knee)

ข้อเข่าเสื่อม คือส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมไป เมื่ออายุมากขึ้นข้อเข่าผ่านการใช้งานนาน ๆ ทั้งการเดิน การขยับงอเหยียด มีแรงกระแทกลงข้อเข่าซ้ำ ๆ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงภายในกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้เกิดการแตกสลายหลุดลอกออก

Goto page arrow icon

โรคปอดติดเชื้อ

ปอดติดเชื้อคือการที่ “เชื้อโรค” เข้าสู่ร่างกายไปที่ปอด แต่การที่เชื้อโรคเข้าไปสู่ปอดจะผ่าน จมูก, คอหอย, หลอดลมใหญ่ หลอดลมเล็ก และเข้าสู่ถุงลมปอด จากการสูดลมหายใจ และจากทางกระแสเลือด

Goto page arrow icon

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน (Parkinson disease) คือโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งในผู้สูงอายุคิดเป็นความชุกประมาณร้อยละ 1 ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โรคพาร์กินสันมีความสำคัญต่อการสาธารณสุข

Goto page arrow icon

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ Permanent pacemaker

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจฝังอยู่ สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงอุปกรณ์ที่มีแม่เหล็กหรือกำเนิดสนามแม่เหล็ก ไม่ให้มาใกล้บริเวณที่ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

Goto page arrow icon

โรคหลอดเลือดสมองกับโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบ

โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบหรืออุดตัน ทำให้เกิดสมองขาดเลือดได้ ส่งผลให้เกิดอาการหน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ได้หรือฟังไม่เข้าใจ

Goto page arrow icon

ชามือ ชาเท้า จุดเริ่มต้นของโรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ

อาการชา หรืออาการรับความรู้สึกผิดปกติ อาจหมายรวมถึงอาการที่เราเสียการรับรู้ความเจ็บปวด ความรู้สึกร้อน เย็น และการสัมผัสหรือการสั่นสะเทือน ซึ่งอาจมีอาการมากน้อยแตกต่างกันแล้วแต่บุคคล

Goto page arrow icon

ผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแผลเล็ก (VATS)

ผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก (Video-Assisted Thoracic Surgery, VATS) มีภาวะแทรกซ้อนน้อย ปวดแผลน้อยกว่าผ่าปกติ นอนโรงพยาบาลในระยะเวลาที่สั้น และยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย

Goto page arrow icon

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)

สาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม มีอาการสูญเสียความทรงจำแบบค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้นตามลำดับ สัญญาณเริ่มแรก คือการลืมเหตุการณ์ ลืมกิจวัตรประจำวัน หลังจากนั้นผู้ป่วยอาจสูญเสีย การตัดสินใจ การช่วยเหลือตนเอง

Goto page arrow icon

บาดทะยัก รู้ทัน ป้องกันโรค

โรคบาดทะยักเป็นโรคที่เกิดจากสารพิษจากแบคทีเรีย บาดทะยักเป็นโรคที่มีความรุนแรงและก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดต่อผู้ป่วย เมื่อสารพิษเข้าสู่ระบบประสาทจะใช้เวลาหลายเดือนในการฟื้นตัวจากการติดเชื้อบาดทะยัก

Goto page arrow icon

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox)

อีสุกอีใส เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็ก อีสุกอีใสเป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายได้ง่ายในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคนี้หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ที่มีการสัมผัสหรือหายใจร่วมกัน

Goto page arrow icon

มะเร็งตับ

มะเร็งตับ (Liver Cancer) มี 2 ประเภท ได้แก่ มะเร็งตับชนิด Primary และมะเร็งตับชนิด Secondary ชนิด Primary เกิดขึ้นภายในตับ ส่วนชนิด Secondary คือการกระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่น ๆ มายังตับ

Goto page arrow icon

ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย ไม่ใช่เรื่องปกติ

ภาวะที่มีการเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสรีระก่อนวัยอันควร ซึ่งหากผู้ปกครองสังเกตุเห็นความผิดปกติของบุตรหลาน ก็จะสามารถแก้ไขความผิดปกตินั้นได้ทันท่วงที

Goto page arrow icon

ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่พบบ่อย บางรายอาจมีภาวะดังกล่าวนานหลายปีโดยไม่แสดงอาการ อย่างไรก็ตามแม้จะไม่แสดงอาการ แต่สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจ

Goto page arrow icon

ฝึกเบ่งอุจจาระแก้ไขปัญหาท้องผูก

ฝึกเบ่งอุจจาระแก้ไขปัญหาท้องผูก (Biofeedback therapy for constipation) มีอาการเหมือนคนท้องผูกทั่วไปแล้ว ในคนกลุ่มนี้มักจะมีความรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด คือ รู้สึกว่ามีอุจจาระเหลือค้างในทวารหนัก

Goto page arrow icon

ตับวายเฉียบพลัน

เมื่อตับไม่สามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ นอกจากตับจะเสียหายแล้วยังส่งผลให้อวัยวะอื่น ๆ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ยิ่งถ้าถึงขั้นตับวายก็ยากจะกู้คืนตับให้กลับมาดังเดิม

Goto page arrow icon

ตรวจน้ำตาลในเลือด FBS กับ HbA1c ต่างกันอย่างไร

การตรวจน้ำตาลในเลือด คือการวัดระดับความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินว่าร่างกายสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีมากน้อยอย่างไร

Goto page arrow icon

โรคหัวใจ (Heart Disease)

โรคหัวใจ อาจจะรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับอาการของคุณ เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจ นี่คือสิ่งสำคัญหากคนในครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคหัวใจ

Goto page arrow icon

โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney) อาการ สาเหตุ การวินิจฉัยและการรักษา

โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney) มักจะมีอาการไตวายเรื้อรังอันเกิดมาจากไตทีสูญเสียการทำงานทีละน้อย เมื่อโรคไตเข้าสู่ระยะท้ายๆ เกลือแร่และของเสียที่สะสมในร่างกายจะสูงขึ้นในระดับที่อาจเป็นอันตรายได้

Goto page arrow icon

เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด

เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tears/Rotator Cuff Injury) การบาดเจ็บของเส้นเอ็นหัวไหล่ ซึ่งเป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อบริเวณไหล่ มักเกิดจากการใช้งานที่มากจนเกินไป จนทำให้ได้รับบาดเจ็บและ

Goto page arrow icon

การนอนหลับที่ผิดปกติ (Sleep Disorders)

การนอนเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลา ประมาณ 1 ใน 3 ของชีวิตมนุษย์ เช่นเรามีอายุขัยเฉลี่ย 80 ปี จะให้เวลาไปกับการนอนทั้งหมดรวมกันประมาณ 30 ปีเลยทีเดียว

Goto page arrow icon

โรคเบาหวาน (Diabetes)

โรคเบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาล

Goto page arrow icon

หินปูนสะสมที่หลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score)

การวัดปริมาณการสะสมของหินปูนที่สะสมที่หลอดเลือดหัวใจโดยนับเป็นคะแนน (Coronary Calcium Score) สาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย อัมพฤต อัมพาตและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

Goto page arrow icon

วิธีรักษาต่อมลูกหมากโต โดยการผ่าตัด

ต่อมลูกหมากโต เกิดจากการขยายตัวของต่อมลูกหมากตามกาลเวลา และพบได้บ่อยในคนไข้เพศชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะ

Goto page arrow icon

รักษามะเร็งด้วยยารักษาแบบมุ่งเป้า

วิธีการรักษามะเร็งชนิดหนึ่ง ที่กำหนดเป้าหมายการรักษาตรงไปที่เซลล์มะเร็ง

Goto page arrow icon

หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท (Cervical Disc Herniation) พบได้บ่อยในกลุ่มประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยสาเหตุส่วนมากเกิดจากความเสื่อมสภาพหรือมีการฉีกขาดของผนังหมอนรองกระดูก

Goto page arrow icon

โรคปมไฟฟ้าหัวใจเสื่อม (Sick Sinus Syndrome)

โรคปมไฟฟ้าหัวใจเสื่อม (Sick Sinus Syndrome) การสร้างสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ สัญญาณไฟฟ้าช้าลงมาก หรือหยุดส่งสัญญาณเป็นเวลานาน ทำให้หัวใจเต้นช้าหรือหยุดเต้นเป็นระยะเวลานาน การไหลเวียนเลือดลดลง

Goto page arrow icon

การดูแลเท้าและเล็บเท้าในคนไข้เบาหวาน

การดูแลเท้าและเล็บเท้าในคนไข้เบาหวาน (Diabetic Podiatry) คนไข้โรคเบาหวานเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย การตัดเล็บเท้าไม่ถูกวิธีหรือการดูแลเท้าได้ไม่ดี อาจเป็นสาเหตุใหญ่ของการตัดนิ้วหรือตัดเท้าได้

Goto page arrow icon

Sculpsure กำจัดไขมันถาวร

SculpSure คือการกำจัดและลดไขมันหน้าท้องถาวรด้วยเทคโนโลยีพลังงานเลเซอร์ ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA) ประเทศสหรัฐอเมริกา และสามารถกำจัดไขมันส่วนเกินได้ถึง 24% ภายในเวลา 25 นาที และเห็นผลชัดเจนหลังการรักษาเพียงครั้งเดียว

Goto page arrow icon

Picosecond Laser

เทคโนโลยีเลเซอร์รอยดำที่ช่วยรักษาปัญหากระ จุดด่างดำ และริ้วรอย ตลอดจนช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้ผิวเรียบเนียน

Goto page arrow icon

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis, Bladder Inflammation)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis, Bladder Inflammation) เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะจะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพ

Goto page arrow icon

ภาวะหนังหุ้มปลายไม่เปิดและการขลิบหนังหุ้มปลาย

ปกติแล้วเด็กผู้ชายตั้งแต่แรกเกิด หนังหุ้มปลายมักจะยังปิดอยู่ (Phimosis) แต่ก็จะมีรูเล็ก ๆ เปิดพอสามารถปัสสาวะได้ พอร่างกายมีการเจริญเติบโตก็สามารถรูดเปิดได้มากขึ้นเรื่อย ๆ

Goto page arrow icon

เนื้องอกที่ไต (Kidney Tumors)

เนื้องอกที่ไต เป็นเรื่องที่พบบ่อยมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน เนื่องมาจากการเข้าถึงการตรวจสุขภาพที่ง่ายขึ้น เครื่องมือทางรังสีในการวินิจฉัยทันสมัย การตรวจคัดกรองหรือการวินิจฉัยจึงแม่นยำมากขึ้น ซึ่งเนื้องอกที่พบนั้นมีทั้งที่ไม่ใช่มะเร็งและเนื้องอกมะเร็ง

Goto page arrow icon

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก (Stroke)

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก คือภาวะที่สมองขาดเลือดหรือมีเลือดออกในสมอง ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน ส่งผลให้เซลล์สมองตาย

Goto page arrow icon

RSV ไวรัสตัวร้าย อันตรายกับเจ้าตัวน้อย

ไวรัส RSV ไวรัสที่ก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี

Goto page arrow icon

ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระรัว (AF)

ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระรัว คือ ภาวะการเต้นของหัวใจสองห้องบนที่ผิดปกติ สั่นรัว และเต้นไม่สอดคล้องกับหัวใจสองห้องล่าง

Goto page arrow icon

สายตาเอียง

สายตาเอียง เกิดจากความผิดปกติของกระจกตา (cornea) และเลนส์ (lens) ที่มีรูปร่างและความโค้งผิดเพี้ยนไป จึงก่อให้เกิดการมองเห็นที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง

Goto page arrow icon

ภาวะความดันโลหิตต่ำ

ภาวะความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือ ภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

Goto page arrow icon

โรคอ้วน

โรคอ้วน เกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณไขมันในร่างกายที่มากเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง

Goto page arrow icon

โรคต้อหิน

โรคต้อหิน มักมีสาเหตุจากความดันในตาสูงผิดปกติ เทำให้เกิดความเสียหายของเส้นประสาทตา จนอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้

Goto page arrow icon

ภาวะสมองบาดเจ็บ

ภาวะสมองบาดเจ็บโดยปกติเกิดจากการกระแทกอย่างรุนแรงที่ศีรษะหรือร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจเป็นผลมาจากการกระแทกอย่างกะทันหันโดยวัตถุบางชนิด เช่น กระสุนหรือกะโหลกศีรษะ การบาดเจ็บที่สมองไม่รุนแรงเซลล์สมองอาจ

Goto page arrow icon

โรคลมชัก (Seizures)

โรคลมชัก (Seizures) เกิดจากการรบกวนของกระแสไฟฟ้าในสมองที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ความรู้สึก หรือพฤติกรรมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปโดยอาจรู้หรือไม่รู้ตัวขณะเกิดอาการลมชัก

Goto page arrow icon

จอประสาทตาลอก

จอประสาทตาลอกเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน จากการที่จอประสาทตาซึ่งเป็นชั้นเนื้อเยื่อบาง ๆ ที่ด้านหลังของตาหลุดออกจากตำแหน่งเดิม

Goto page arrow icon

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบก่อให้เกิดการกีดขวางการไหลเวียนของเลือดไปที่แขนขา โดยผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบอาจมีอาการอึดอัดหรือปวดขาขณะเดินเนื่องจากเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะดังกล่าวไม่เพียงพอ

Goto page arrow icon

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

คือโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน ซึ่งเป็นภาวะที่ผิวหนังมีเกล็ดสีแดงปกคลุมด้วยเกล็ดสีเงิน

Goto page arrow icon

กลุ่มอาการโจเกรน

กลุ่มอาการโจเกรน เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดอาการตาและปากแห้ง ซึ่งกลุ่มอาการนี้มักมาพร้อมกับความผิดปกติอื่น ๆ ของระบบภูมิคุ้มกัน

Goto page arrow icon

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด (Ankylosing Spondylitis)

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด คือภาวะข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้กระดูกเล็กๆในกระดูกสันหลังยึดติดกัน ทำให้สูญเสียความยืดหยุ่นของกระดูกกสันหลัง และเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการหลังค่อม

Goto page arrow icon

ภาวะข้ออักเสบ

ภาวะข้ออักเสบ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามวัย ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อย บวม และกดเจ็บในบริเวณข้อต่อ

Goto page arrow icon

ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง (Hashimoto’s Disease)

ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง หรือโรคฮาชิโมโตะ เกิดขึ้นจากความบกพร้องของระบบภูมิคุ้มกันที่ส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ทำให้เกิดอาการอักเสบ

Goto page arrow icon

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำเชื่อมต่อกันอย่างผิดปกติ การเชื่อมต่ออย่างผิดปกตินี้ก่อให้เกิดการรบกวนการไหลเวียนของเลือด และการไหลเวียนของออกซิเจน

Goto page arrow icon

เนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมองคือการรวมตัวของเซลล์ที่ผิดปกติในสมอง มีเนื้องอกในสมองหลายชนิดซึ่งอาจเป็นได้ทั้งชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง หรือชนิดที่เป็นมะเร็ง

Goto page arrow icon

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคกระดูกที่เกิดจากการขาดการซ่อมแซมกระดูกใหม่หรือซ่อมแซมที่เกิดขึ้นช้า เพื่อทดแทนกระดูกเก่าหรือกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ ทำให้เกิดภาวะกระดูกเปราะและแตกหักง่าย

Goto page arrow icon

กล้ามเนื้อฉีกขาด

คืออาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อเส้นใยที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูก หรือที่เรียกว่าเส้นเอ็น

Goto page arrow icon

ภาวะข้อไหล่ติด

ภาวะข้อไหล่ติดเกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อในข้อไหล่หนาและตึงขึ้น สัญญาณและอาการที่พบบ่อยของภาวะข้อไหล่ติดอาจรวมถึงอาการตึงและปวดบริเวณข้อไหล่

Goto page arrow icon

โรคซิสติกไฟโบรซิส

โรคซิสติกไฟโบรซิสเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีผลต่อเซลล์ที่ผลิตของสารคัดหลั่ง ก่อให้เกิดการอุดตันของสารคัดหลั่งในท่อต่าง ๆ

Goto page arrow icon

โรคไข้รูมาติก

โรคไข้รูมาติกเป็นเกิดจากอาการอักเสบที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส การติดเชื้อแบคทีเรียนี้มักทำให้เกิดอาการคออักเสบและอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้น

Goto page arrow icon

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่พัฒนาในเซลล์เมลาโนไซต์ที่ทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดสีบนผิวหนัง มะเร็งชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

Goto page arrow icon

โรคปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip and Cleft Palate)

โรคปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip and Cleft Palate) คือความผิดปกติของกระบวนการสร้างโครงสร้างของใบหน้าและช่องปาก ทำให้โครงสร้างของใบหน้าทารกไม่แนบสนิท แต่ก็สามารถแก้ไขและฟื้นฟูให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ

Goto page arrow icon

เนื้องอกต่อมใต้สมอง

เนื้องอกต่อมใต้สมองคือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติในต่อมใต้สมอง มีผลต่อการผลิตฮอร์โมนหลายชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำงานในหลายระบบของร่างกาย

Goto page arrow icon

ลูกน้อยห่างไกลโรคแพ้นมวัว

โรคแพ้นมวัว คือ โรคที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อโปรตีนในนมวัว

Goto page arrow icon

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญภายนอกโพรงมดลูกและทำให้เกิดอาการปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง โดยเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มักส่งผลต่ออวัยวะข้างเคียง

Goto page arrow icon

โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis)

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ มักมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลังที่เกี่ยวเนื่องกับโรคข้อเข่าเสื่อม

Goto page arrow icon

โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia - BPH)

โรคต่อมลูกหมากโต BPH (Benign Prostatic Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ เป็นอาการที่มักเกิดในเพศชายเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยก่อให้เกิดอาการ เช่น ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่สุด

Goto page arrow icon

มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)

มะเร็งต่อมลูกหมาก การสังเกตอาการผิดปกติและตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยเพิ่มโอกาสให้แพทย์ตรวจพบมะเร็งระยะเริ่มต้นได้เร็วขึ้นและสามารถรักษามะเร็งให้หายขาดได้

Goto page arrow icon

ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Brachytherapy)

การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate brachytherapy) คือ วิธีการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยรังสีรักษาจากภายใน โดยการใส่แหล่งกำเนิดแร่กัมมันตรังสีในแคปซูลขนาดเล็กฝังเข้าไปในต่อมลูกหมาก

Goto page arrow icon

การป้องกันข้อไหล่ติด

วิธีที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันการเกิดแขนบวม ทำได้โดยขณะที่ผู้ป่วยนอนพักอยู่ที่ห้องพักฟื้นหรือในหอผู้ป่วย จะต้องให้ผู้ป่วยนอนพักในท่าที่เหมาะสม

Goto page arrow icon

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะ

ยาในกลุ่มนี้จะเป็นยาที่มีประสิทธิภาพดี รักษาได้ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด แต่ก็มีข้อจำกัดที่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น

Goto page arrow icon

ระยะของมะเร็งเต้านม (Stage of Breast Cancer)

มะเร็งเต้านม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมได้

Goto page arrow icon

โรคมะเร็ง

มะเร็ง (Cancer) หรือ เนื้องอกร้าย (Malignant tumors) คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรม ทำให้เกิดเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัว

Goto page arrow icon

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic Sinusitis) อาการ สาเหตุ การรักษา

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง คือภาวะที่เนื้อเยื่อโพรงจมูกเกิดอาการอักเสบ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ขึ้นไป

Goto page arrow icon

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer or Stomach Cancer)

มะเร็งกระเพาะอาหาร คือมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารมีการกลายพันธุ์ และแบ่งตัวผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดได้ทุกบริเวณของกระเพาะอาหาร อาการของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารนั้นในบางรายอาจมีอาการคล้ายผู้ป่วยโรคกระเพาะอักเสบ หรือ แผลในกระเพาะอาหาร

Goto page arrow icon

โรคถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis)

โรคถุงน้ำดีอักเสบมักเกิดขึ้นจากอาการอักเสบของถุงน้ำดี โดยปัจจัยที่พบบ่อยมักเกิดจากการขัดขวางการไหลเวียนของน้ำดี ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากนิ่ว เนื้องอก หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆที่อยู่ในท่อน้ำดี

Goto page arrow icon

มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เอชพีวี (HPV) ซึ่งมักจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้

Goto page arrow icon

โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

อาการทั่วไปของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ คือความรู้สึกชาบริเวณนิ้วหรือมือ หรือปวดแสบเหมือนถูกเข็มทิ่ม บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง แต่จะไม่เกิดขึ้นกับนิ้วก้อย

Goto page arrow icon

หูชั้นกลางอักเสบ (Ear infection)

โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (Ear infection) เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในหูชั้นกลาง หูชั้นกลางคือพื้นที่บริเวณด้านหลังแก้วหู โรคหูชั้นกลางอักเสบมักจะเกิดกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

Goto page arrow icon

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer)

มะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถเป็นได้ทุกวัย แต่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะเริ่มต้นจากติ่งเนื้อเล็กๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในก้อนเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง และก่อตัวด้านในลำไส้ใหญ่

Goto page arrow icon

โรคไขมันพอกตับ (Nonalcoholic Fatty Liver Disease)

โรคไขมันพอกตับ (Nonalcoholic Fatty Liver Disease) คือภาวะความผิดปกติของตับ อันเกิดจากการสะสมของไขมันในเซลล์ตับที่มีปริมาณมาก โดยการเกิดภาวะไขมันพอกตับนั้นมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกิน และไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง

Goto page arrow icon

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones)

นิ่วในถุงน้ำดี เกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของน้ำดีโดยเฉพาะคอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน ดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจมีลักษณะเป็นผงขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ ภายในถุงน้ำดีสามารถมีได้ทั้งนิ่วขนาดใหญ่จำนวนหนึ่ง ร่วมกับนิ่วเล็ก ๆ หลายร้อยก้อนได้

Goto page arrow icon

ไมเกรน (Migraine)

ไมเกรน (Migraine) คือ โรคทางประสาทวิทยาชนิดหนึ่ง ส่งผลให้เกิดอาการปวดตุบ ๆเป็นจังหวะอย่างรุนแรง โดยมักพบอาการปวดที่ข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ

Goto page arrow icon